Work & Travel USA
username:
password:
Contact US

จันทร์ - ศุกร์
9.00 - 18.00 น

เสาร์
9.00 - 16.30 น

ค่าธรรมเนียมวีซ่านักเรียน
AUS 17,350 Baht
USA 4,620 Baht
UK 10,348 Baht
NZ 5,000 Baht
Canada 4,000 Baht
Related Link
ทุนการศึกษา [OCSC]
ทุนการศึกษา [NSTDA]
ตั๋วนักเรียนราคาประหยัด
ร้านอาหารไทยในต่างแดน
หาที่พักต่างแดน
EXCHANGE RATE
TOFEL
IELTS
GMAT
GRE
สมาชิก
Welcome, Anonymous
Nickname
Password
(Register)
Membership:
Latest: Barnypok
New Today: 0
New Yesterday: 0
Overall: 24955

People Online:
Visitors:
Members:
Total: 0
Counter
Page Counter: 473
Since: 10 Apr 2005
Exchange Rate




  ข้อมูลทั่วไปของประเทศออสเตรเลีย
  สภาพภูมิประเทศ
  สภาพภูมิอากาศ
  เวลา
  การใช้ชีวิต
  ระบบการศึกษาของประเทศออสเตรเลีย



ข้อมูลทั่วไปของประเทศออสเตรเลีย ToP
สิ่งที่น่าสนใจ
สถานฑูตออสเตรเลียประจำประเทศไทยตั้งอยู่ที่
37 ถนนสาทรใต้ กรุงเทพฯ 10120
โทร : 02 287 2680
โทรสาร: 02 287 2092

ออสเตรเลีย ใช้ภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ มีแหล่งท่องเที่ยวและทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม โดยเฉพาะกิจกรรมทางน้ำ มีอากาศดี มีเสรีภาพในการนับถือศาสนา และระบบการศึกษาที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย แต่ก็ขึ้นอยู่กับระเบียบของแต่ละรัฐซึ่งอาจแตกต่างกัน


รัฐ และ เมืองสำคัญ ประเทศออสเตรเลีย ประกอบด้วย 6 รัฐ และเขตปกครองตนเอง 2 มณฑล คือ มณฑลนครหลวง ( Australian Capital Territory ) เป็นมณฑลที่ตั้งของ แคนเบอร์ร่า ( Canberra ) เมืองหลวงของประเทศ และเป็นศูนย์กลางการปกครอง เป็นที่ตั้งขององค์กรระดับชาติ และ หน่วยงานสถานทูตของประเทศต่างๆ รวมทั้งสถานทูตไทย

ค่าเงินของประเทศออสเตรเลีย โดยประมาณ 1 AUD = 30 บาท
สภาพภูมิประเทศ ToP
ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก รองจากประเทศรัสเซีย แคนาดา จีน อเมริกา และบราซิล เนื้อที่ประมาณ 1 ใน 3 เป็นทะเลทราย มีประชากรอยู่อาศัยหนาแน่น ทางแถบชายฝั่งตะวันออกของประเทศ รวมถึงทางตะวันตกเฉียงใต้ เพราะเป็นเขตที่มีพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์มากกว่า


ประเทศออสเตรเลีตั้งอยู่ในเขตซีกโลกใต้ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของประเทศไทย โดยเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีพื้นที่ครอบคลุมทั้งทวีป (เป็นทวีปที่เล็กที่สุดในโลก) มีลักษณะของประเทศเป็นเกาะ (เป็นเกาะที่มี ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก) ซึ่งตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิค และมหาสมุทรอินเดีย มีเนื้อที่โดยประมาณ 7.7 ล้านตารางกิโลเมตร

ประเทศออสเตรเลีย ประกอบไปด้วยรัฐ 6 รัฐ และเขตปกครองตนเอง 2 มณฑล คือ

รัฐนิวเซาท์เวลส์ : New South Wales - NSW
เมืองหลวงคือเมือง Sydney
มณฑลนครหลวงของออสเตรเลีย : Australian Capital Territory - ACT
เมืองหลวงคือเมือง Canberra
มณฑลตอนเหนือ : Northern Territory - NT
เมืองหลวงคือเมือง Darwin
รัฐเซาท์ออสเตรเลีย : South Australia - SA
เมืองหลวงคือเมือง Adelaide
รัฐควีนส์แลนด์ : Queensland - QLD
เมืองหลวงคือเมือง Brisbane
รัฐทัสเมเนีย : Tasmania - TAS
เมืองหลวงคือเมือง Hobart
รัฐวิคตอเรีย : Victoria - VIC
เมืองหลวงคือเมือง Melbourne
รัฐเวสเทอร์นออสเตรเลีย : Western Australia - WA
เมืองหลวงคือเมือง Perth
สภาพภูมิอากาศ ToP
ประเทศออสเตรเลีย ตั้งอยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร พื้นที่กว่า 1 ใน 3 ของประเทศ ตั้งอยู่ในเขตร้อน ส่วนที่เหลือตั้งอยู่ในเขตอบอุ่น แต่ด้วยขนาดของประเทศที่มีความกว้างใหญ่ ประเทศออสเตรเลีย จึงเป็นประเทศที่มีสภาพอากาศที่มีความหลากหลาย โดยทั่วไปจะมีอากาศกำลังเย็นสบาย แต่สำหรับในส่วนพื้นที่บริเวณที่ราบสูง และพื้นที่ในรัฐ Tasmania และบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ อากาศจะหนาวเย็นกว่า ส่วนทางด้านตอนเหนือของประเทศ จะมีลักษณะอากาศทั่วไปใกล้เคียงกับเขตเอเซีย และแปซิฟิค

ประเทศออสเตรเลีย มี 4 ฤดูกาลดังนี้
- ฤดูร้อน : เดือนธันวาคม - เดือนกุมภาพันธ์
- ฤดูใบไม้ร่วง : เดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม
- ฤดูหนาว : เดือนมิถุนายน - เดือนสิงหาคม
- ฤดูใบไม้ผลิ : เดือนกันยายน – เดือนพฤศจิกายน

เวลา ToP
ด้วยขนาดของประเทศที่มีความกว้างใหญ่ ประเทศออสเตรเลีย จึงมีการแบ่งเวลาตามเส้นแบ่งเขตเวลาของโลก มาตรฐานกรีนนิช (Greenwich Mean Time - GMT) โดยจัดแบ่งออกเป็น 3 เขตเวลาดังนี้
  1. Eastern Standard Time - EST เป็นเวลาที่ในรัฐ New South Wales, Victoria, Tasmania, Queensland และ Canberra ซึ่งจะเร็วกว่าประเทศไทย 3-4 ชั่วโมง
  2. Central Standard Time - CST เป็นเวลาที่ใช้ในรัฐ South Australia และ Northern Territory ซึ่งจะเร็วกว่าประเทศไทย 2 ชั่วโมง
  3. Wetern Standard Time - WST เป็นเวลาที่ใช้ในรัฐ Western Australia ซึ่งจะเร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง
หมายเหตุ: ในช่วงฤดูร้อน (เดือนตุลาคม - ปลายเดือนมีนาคม) จะมีเวลาในช่วงกลางวัน ยาวนานกว่าในช่วงกลางคืน จึงมีการปรับเวลาให้เร็วขึ้น 1 ชั่วโมง (Daylight Saving) ในทุกรัฐ ยกเว้นรัฐ Western Australia และQueensland
การใช้ชีวิต ToP
เศรษฐกิจ
ชาวออสเตรเลียปัจจุบันให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสมัยใหม่มาก จนได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของโทรศัพท์มือถือ และเครื่องโทรสารต่อจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก นอกจากนี้ ยังเป็นศูนย์คอมพิวเตอร์ เชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมากเป็นอันดับหกของโลก
เงินตรา
ประเทศออสเตรเลีย ใช้หน่วยเงินตราเป็น A$ (A$ 1 เท่ากับ 100 เซ็นต์) โดยมีค่าเงินต่างๆดังนี้ เหรียญ : 5 เซ็นต์ 10 เซ็นต์ 20 เซ็นต์ 50 เซ็นต์ A$ 1 และ A$ 2 ธนบัตร : A$ 5 A$ 10 A$ 20 A$ 50 และ A$ 100

ร้านค้า
ในเมืองขนาดใหญ่ และในเขตตัวเมืองของแต่ละรัฐ สามารถหาร้านค้าชั้นนำจากทั่วโลกได้อย่างง่ายดาย โดยส่วนใหญ่ จะเปิดทำการวันจันทร์-วันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 9.00 - 17.30 น. และสำหรับวันพฤหัสบดี และวันศุกร์ เปิดถึง 21.00 น. ส่วนในวันอาทิตย์ และวันหยุดราชการ ร้านค้าส่วนใหญ่จะปิดทำการ ยกเว้นห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ที่อาจเปิดให้บริการในวันอาทิตย์ด้วย
ไฟฟ้า
ใช้กระแสไฟฟ้า 220 V เหมือนประเทศไทย แต่เป็นปลั๊กแบบ 3 ขา ถ้าจะนำเครื่องใช้ไฟฟ้า ไปจากเมืองไทย ต้องใช้ Adapter ซึ่งหาซื้อได้ในประเทศไทย และออสเตรเลีย

ประปา
น้ำประปาสะอาดสามารถใช้สำหรับดื่มได้

ศาสนา
เนื่องด้วยออสเตรเลียให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ แต่ก็มีศาสนาอื่น ๆ เช่น พุทธ อิสลาม และยิว ด้วยเช่นกัน
การทำงานของนักศึกษาต่างชาติ
การหางานทำในประเทศออสเตรเลีย ไม่ใช่เรื่องที่ยาก นักศึกษาต่างชาติ สามารถทำงานนอกเวลาเรียนได้ ไม่เกิน 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในช่วง ระหว่างภาคการศึกษา หรือ 35 - 40 ชั่วโมง ในช่วงปิดภาค แต่การทำงานจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการเรียน อย่างไรก็ดี นักศึกษาต่างชาติที่ถือวีซ่านักเรียน จะต้องทำเรื่องยื่นขออนุญาตการทำงานกับ Department of Immigration and Multicultural Affairs (DIMA) และชำระค่าธรรมเนียมจำนวน A$ 50 เสียก่อน

ภาษีอากร
นักศึกษาต่างชาติที่ศึกษาในประเทศออสเตรเลียมากกว่า 6 เดือน และมีรายได้ ต้องทำเรื่องขอหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (Tax File Number) และจะต้องยื่นเรื่องเสียภาษีเงินได้ ให้กับรัฐบาลออสเตรเลีย เมื่อครบกำหนดปีงบประมาณ คือในช่วงวันที่ 30 มิถุนายน ของทุกปี หากนักศึกษาไม่มีหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี นักศึกษาต้องเสียภาษีในอัตราสูงสุดโดยคำนวนจากรายได้ทั้งหมด
ระบบการศึกษาของประเทศออสเตรเลีย ToP
ระบบการศึกษา
การจัดการระบบการศึกษาเป็นหน้าที่ของรัฐบาลในแต่ละรัฐ และเขตการปกครองตนเอง ดังนั้นระบบการศึกษา จึงไม่ได้มีกฎเกณฑ์มาตรฐานเดียวกันทั้งหมด แต่โดยทั่วไประบบการศึกษาของออสเตรเลีย แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ อนุบาลศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ซึ่งประกอบด้วยวิทยาลัยเทคนิค การศึกษาต่อเนื่อง และมหาวิทยาลัย การศึกษาภาคบังคับของออสเตรเลีย เริ่มตั้งแต่ ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ปีที่ 10 อายุ 6 - 15 ปี หลังจากนั้นนักเรียนส่วนหนึ่งอาจเลือกสมัครเข้าสู่ตลาดแรงงาน แต่ส่วนใหญ่จะเลือกเรียนต่อ ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอีก 2 ปี เพื่อเตรียมตัวศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย หรือวิทยาลัยเทคนิคระดับอุดมศึกษา
  การศึกษาระดับมัธยม (Secondary Education)
การจัดการศึกษาระดับประถมและมัธยมในประเทศ ออสเตรเลียอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของแต่ละรัฐ โดยทั่วไปจะเริ่มรับนักเรียนต่างชาติเข้าเรียนต่อ ทั้งโรงเรียนของรัฐและเอกชน ตั้งแต่ชั้นปีที่ 7 (Year 7-ม.1) จนถึงปริญญาเอก สำหรับในระดับประถม ทางสถาบันการศึกษาจะพิจารณารับนักเรียนเป็นรายบุคคลไป นักเรียนต่างชาติที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี รัฐบาลออสเตรเลียกำหนดให้มีผู้ปกครองดูแล (Guardian) ซึ่งอาจจะเป็นญาติพี่น้องที่อยู่ที่นั่น ถ้าไม่มีญาติพี่น้อง ทางโรงเรียนที่นักเรียนสมัครจะจัดหาผู้ปกครอง (Guardian) ให้โดยเสียค่าใช้จ่ายอาทิตย์ละประมาณ 25 เหรียญออสเตรเลียต่อสัปดาห์ ถ้าเรียนในโรงเรียนประจำก็จะมีอาจารย์ในโรงเรียนเป็นผู้ดูแลแทน
ระดับมัธยมศึกษาแบ่งออกเป็นมัธยมศึกษาตอนต้น (Year 7-10 หรือเทียบเท่า ม.1 - ม.4 ของไทย) และมัธยมศึกษาตอนปลาย (Year 11-12 หรือเทียบเท่า ม.5 - ม.6 ของไทย) ในการจัดหลักสูตร หน่วยการศึกษาของแต่ละรัฐ จะมีการจัดหลักสูตรและการประเมินผลเป็นของตนเอง โรงเรียนมีอิสระในการจัดหลักสูตรหรือเพิ่มเติมวิชาเรียน ทั้งนี้ต้องอยู่ในความเห็นชอบจากรัฐบาล มาตรฐานของหลักสูตรจะอยู่ในระดับที่ดี ทัดเทียมกันในทุกรัฐ โดยจัดให้มีการสอบมาตรฐานสำหรับประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเป็นโรงเรียนแบบ Day School คือ ไปเช้าเย็นกลับ ในขณะที่โรงเรียนเอกชนจะมีแบบโรงเรียนประจำ (Boarding School) และไปกลับ นอกจากนี้ ยังแบ่งเป็นโรงเรียนหญิงล้วน หรือชายล้วน และโรงเรียนสหศึกษาคือ มีทั้งนักเรียนหญิงชายเรียนร่วมกัน
  โรงเรียนนานาชาติ (International School)
เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาให้กับนักเรียนจากนานาชาติ โดยเฉพาะนักเรียนที่มีภูมิหลังมาจากประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ ส่วนมากจะเป็นโรงเรียนระดับมัธยมปลาย เน้นการปรับตัวและแก้ไขข้อบกพร่องทางภาษา ปีการศึกษาจะเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นธันวาคม โดยทั่วไปเวลาของการเปิดเรียนของรัฐต่างๆ จะแตกต่างกัน บางรัฐจะแบ่งภาคการศึกษาเป็น 3 ภาคและบางรัฐจะแบ่งเป็น 4 ภาค โดยทั่วไปหากนักเรียนไทยมีคะแนนภาษาอังกฤษดี มีผลสอบ IELTS (5.5) หรือ TOEFL (500) และผลการเรียนดีก็สามารถต่อชั้นได้เลย เช่น จบ ม.3 ของไทย สามารถไปต่อ Year 10 (ม.4) ได้เลย หากผลการเรียนไม่ดีทางสถาบันอาจจะให้เรียนซ้ำ ชั้นประมาณครึ่งปีหรือหนึ่งปี ถ้าไม่มีผลสอบภาษาอังกฤษหรือคะแนนภาษาอังกฤษไม่ดีพอ อาจจะต้องไปเรียนภาษาอังกฤษที่เรียกว่า English for Secondary Studies ระยะหนึ่งก่อนเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษา ค่าใช้จ่ายสำหรับนักเรียนต่างชาติไปเรียนระดับมัธยมศึกษา ค่าเล่าเรียนประมาณ 8,000-12,000 เหรียญออสเตรเลีย ค่ากินอยู่ประมาณเดือนละ 1,000 เหรียญออสเตรเลีย สำหรับโรงเรียนประจำรวมค่าเล่าเรียน ค่ากินอยู่ ประมาณปีละ 15,000 - 22,000 เหรียญออสเตรเลีย
  หลักสูตรเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย (Foundation Studies)
เป็นหลักสูตรเตรียมความพร้อมในการเรียนต่อระดับ อุดมศึกษาในออสเตรเลียให้กับนักเรียนต่างชาติใช้เวลาในการเรียน 1 ปี เนื้อหาของหลักสูตรมาจาก Year 11-12 บวก วิชาพื้นฐานในสาขาที่นักศึกษาจะศึกษาในระดับปริญญาตรี เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ คอมพิวเตอร์ ธุรกิจ บัญชี สังคมและประวัติศาสตร์ เป็นต้น หลักสูตร Foundation แบ่งออกเป็น สายวิทย์ สายศิลป์ และธุรกิจ ก่อนเข้าเรียนนักศึกษาจากประเทศไทยจะต้องจบชั้นปีที่ 11 หรือ ม.6 หรือ ปวช. มีผล IELTS ประมาณ 5.0 หรือ TOEFL ประมาณ 500 ขึ้นไป GPA ไม่ควรต่ำกว่า 2.5 ถ้าสอบ ผ่านทุกวิชาของหลักสูตร Foundation ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ก็สามารถจะเรียนต่อในระดับปริญญาตรีได้เลย สำหรับ นักศึกษาที่จบปีที่ 1 ในระดับปริญญาตรีในประเทศไทยแล้ว สามารถสมัครเรียนระดับปริญญาตรีได้โดยไม่ต้องเรียนหลักสูตร Foundation หลักสูตรนี้เปิดสอนทั้งในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย เทคนิค (TAFE) และในโรงเรียนมัธยมศึกษา ค่าใช้จ่ายสำหรับ นักเรียนทุนส่วนตัวค่าเล่าเรียนประมาณปีละ 9,000 - 12,000 เหรียญออสเตรเลีย
  วิทยาลัยเทคนิคและการศึกษาต่อเนื่อง (College of Technical and Further Education)
วิทยาลัยเทคนิคและการศึกษาต่อเนื่องที่เรียกสั้นๆ ว่า เทฟ (TAFE) รับนักศึกษาจบ Year 10 หรือมัธยมศึกษาปีที่ 4 เป็นวิทยาลัยเทคนิคและอาชีวศึกษาของรัฐบาล ที่กระจายอยู่ทั่วภูมิภาคของประเทศ เป็นหน่วยงานการศึกษาการอบรมด้านวิชาชีพ วิทยาลัย TAFE ให้การศึกษาที่ครอบคลุมทักษะสำคัญๆ ทั้งหมดในวิชาชีพด้านอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และศิลปะ หลักสูตรของ TAFE มีทั้งระดับช่างฝึกหัด ช่างฝีมือชั้นสูง และช่างเทคนิค ตลอดจนหลักสูตรพาณิชยกรรม เกษตรกรรม วิทยาศาสตร์ และหลักสูตรทั่วไป แบ่งการสอนเป็น 3 ระดับคือ
  1. ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับ 1 ถึง 4 (Certificate I-IV) ระยะเวลาเรียน 6 เดือน - 1ปี เป็นหลักสูตรวิชาชีพพื้นฐาน เน้นความรู้ระดับปฏิบัติงาน
  2. อนุปริญญา (Diploma) ระยะเวลาเรียน 2 ปี เป็นหลัก สูตรระดับปฏิบัติงาน และวางแผน
  3. อนุปริญญาชั้นสูง (Advanced Diploma) ระยะเวลาเรียน 2-3 ปี สามารถโอนหน่วยกิต ไปต่อระดับปริญญาตรี เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความก้าวหน้า สูงกว่าตำแหน่งหัวหน้างาน นอกจากนี้ วิทยาลัย TAFE ยังมีหลักสูตรพิเศษ ที่จัดขึ้นตามความต้องการของหน่วยงานนอกสถาบัน รวมทั้งให้บริการการศึกษาผู้ใหญ่ ในหลักสูตร Matriculation ซึ่งเป็นหลัก สูตรสามัญเร่งรัด 1 ปี สำหรับผู้ที่มีอายุเกิน 18 ปีขึ้นไป ที่ยังเรียนไม่จบมัธยมปลายและต้องการสอบเพื่อให้ได้วุฒิดังกล่าวเพื่อ เรียนต่อในระดับอุดมศึกษา
  วิทยาลัยเอกชน (Private Colleges)
วิทยาลัยเอกชนเปิดสอนทั่วประเทศออสเตรเลีย จะตั้งอยู่ในเมืองใหญ่ๆ เช่น Sydney, Melbourne, Perth, Brisbane, Adelaide, Canberra เป็นต้น วิทยาลัยเอกชนทุกแห่งจะต้องได้รับการรับรองวิทยฐานะจากรัฐบาล นอกจากนี้ หากหลักสูตรใดของวิทยาลัย ได้รับการรับรองจากสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ก็จะทำให้เป็นที่เชื่อถือมากยิ่งขึ้น หลักสูตรที่เปิดสอนในวิทยาลัยเอกชน มักเป็นหลักสูตรวิชาชีพทางธุรกิจ จะเปิดสอนตั้งแต่ระยะเวลา 6 เดือน ถึง 2 ปี วุฒิที่ได้ เช่น ประกาศนียบัตร I-IV อนุปริญญา (Diploma)
หลักสูตรในวิทยาลัยเอกชน เป็นหลักสูตรที่เหมาะสมกับ ผู้ที่ต้องการเรียนภาษาอังกฤษ และวิชาชีพเพิ่มเติม หลังจากจบปริญญาตรีมาแล้ว เนื่องจากระยะเวลาเรียนสั้น เน้นการปฏิบัติ นักศึกษามีผล TOEFL ประมาณ 500 หรือ IELTS ประมาณ 5.0-5.5 สามารถสมัครเรียนได้เลย ถ้าไม่มีผลภาษาอังกฤษ ก็อาจจะไปเรียนภาษาอังกฤษก่อนกับ วิทยาลัยเอกชน ที่เปิดสอนทั้งหลักสูตรภาษาอังกฤษ และหลักสูตรวิชาชีพ ในบางวิทยาลัยนักศึกษาอาจจะไม่ต้องสอบ IELTS เนื่องจากวิทยาลัยเอกชน จะวัดผลจากการเรียนภาษาอังกฤษของสถาบันเอง ถ้าผ่านถึงเกณฑ์ที่ทางสถาบันกำหนดก็สามารถเรียนต่อในหลักสูตรที่นักศึกษาสนใจได้ ค่าเล่าเรียน ประมาณปีละ 8,000-10,000 เหรียญออสเตรเลีย
การเปิดเรียนของวิทยาลัยเอกชน ส่วนใหญ่จะเปิดรับนักศึกษาใหม่ทุกเดือน การศึกษาพิเศษและวิทยาลัยเอกชน (Special Studies) สถาบันการศึกษาหลายแห่ง โดยเฉพาะวิทยาลัยเทคนิค TAFE และวิทยาลัยเอกชนยังเปิดสอนหลักสูตรที่เรียกว่า การศึกษาพิเศษ (Special Studies) ซึ่งเป็นหลักสูตรให้ความรู้ด้านวิชาชีพระยะสั้นๆ เช่น การท่องเที่ยว การโรงแรม อาหาร เสริมสวย การบิน ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีหลักสูตรอบรมความรู้พิเศษด้านต่างๆ ทั้งบันเทิงและกีฬา เช่น ว่ายน้ำ ประดาน้ำ กอล์ฟ เทนนิส เป็นต้น
  มหาวิทยาลัย (University)
ปัจจุบันออสเตรเลียมีมหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยี และวิทยาลัย ซึ่งได้รับการยกระดับวิทยฐานะเป็นมหาวิทยาลัย รวมทั้งหมด 39 แห่งทั่วประเทศ คุณภาพได้มาตรฐานเทียบเท่า มหาวิทยาลัยชั้นดีของประเทศอังกฤษ แคนาดา และอเมริกา มหาวิทยาลัยเป็นของรัฐบาลทั้งหมด ยกเว้น Bond University และ The University of Notre Dame ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นว่า ออสเตรเลียไม่มีระบบเอ็นทรานซ์เพื่อเข้ามหาวิทยาลัย การรับนักศึกษาในระดับปริญญาตรี พิจารณาจากผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษา ในกรณีที่เป็นนักเรียนต่างชาติก็พิจารณาจากผลการเรียนในระดับมัธยมปลาย มหาวิทยาลัยอาจกำหนดคุณสมบัติในการเข้าเรียนระดับ ปริญญาตรีของนักเรียนจากประเทศต่างๆ แตกต่างกันไป เช่น ในกรณีประเทศไทยบางสถาบันอาจพิจารณารับผู้ที่จบปี 1 ใน ระดับมหาวิทยาลัยแล้วเท่านั้น
นอกจากนี้ สถานศึกษาทั่วไปของออสเตรเลีย ยังไม่ยอมรับผลการสอบเทียบในประเทศไทย เว้นแต่จะได้เกรด 2.5 ขึ้นไป หลายสถาบันเปิดหลักสูตรการเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย สำหรับผู้ที่ประสงค์จะเข้าสถาบันนั้นๆ แต่มีคุณสมบัติไม่เพียงพอ หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรสำหรับนักศึกษาต่างชาติโดยเฉพาะ ใช้เวลาศึกษา 1 ปี หากนักศึกษา สามารถสอบผ่านปีพื้นฐานได้ ก็จะได้รับการตอบรับเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตร ีตามสาขาที่เลือกไว้
  ประกาศนียบัตรบัณฑิต (Graducate Certificate)
เป็นหลักสูตรระยะสั้น 6 เดือน เพื่อเสริมความรู้เฉพาะด้านมีหลายสาขาให้เลือก เช่น ผู้ที่จบปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ อาจเรียนหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information System) เพิ่มเติม หรือนักเรียนต่างชาติที่สมัครเรียนระดับปริญญาโท แต่ทางสถาบันไม่แน่ใจ ในความพร้อมของนักเรียน อาจให้ นักเรียนลงทะเบียนหลักสูตร Graduate Certificate เพื่อประเมินผลการเรียนก่อน จนกว่าผลการเรียนเป็นที่พอใจ ก็จะอนุญาตให้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท
  อนุปริญญาโท (Graduate Diploma)
เป็นหลักสูตรบัณฑิตศึกษาระยะเวลาศึกษา 1 ปี สำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีที่มีประสบการณ์ในการทำงานแล้ว และต้องการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเฉพาะด้าน เป็นหลักสูตร ฟังคำบรรยาย (Coursework) อาจมีการทำ Project หรือ มีภาคปฏิบัติในบางสาขาวิชา ในหลายสาขาวิชา เช่น MBA ได้จัดให้ Graduate Diploma เป็นหลักสูตรปีแรกของโปรแกรม ซึ่งถ้านักศึกษา สามารถทำคะแนนได้ดีในปีแรกก็สามารถผ่านไปเรียนปีที่สอง ในระดับปริญญาโทได้
  ปริญญาโท (Master's Degree)
ใช้ระยะเวลาศึกษา 1-2 ปี ขึ้นอยู่กับสาขาวิชาและลักษณะการเรียน ระบบการเรียนมี 3 ลักษณะ คือ
  1. Coursework เป็นการเรียนแบบเข้าฟังคำบรรยาย
  2. Thesis เป็นการเรียนแบบเขียนวิทยานิพนธ์
  3. Coursework and Thesis เป็นการเรียนผสมผสาน
ระหว่างการเข้าฟังคำบรรยายและการเขียนวิทยานิพนธ์ บางสถาบันอนุญาติ ให้นักศึกษาเลือกอัตราส่วน ระหว่างการเรียน สองแบบ เช่น นักศึกษาอาจจะเลือก Coursework 50% และ Thesis อีก 50% หรือ อัตราส่วนระหว่าง Coursework และ Thesis เป็น 70%-30% บางสาขา โดยเฉพาะ MBA รับผู้ที่เรียนจบปริญญาตรีสาขาใดก็ได้ แต่จะต้องมีประสบการณ์การ ทำงานอย่างน้อย 1-2 ปี ในกรณีที่จบปริญญาตรีมาสาขาหนึ่ง และต้องการเรียนต่อปริญญาโทอีกสาขาหนึ่ง ทางมหาวิทยาลัยอาจให้ทดลองเรียน 1 ปีก่อน ซึ่งเรียกว่า Master Qualifying ต้องมีผลสอบเป็นที่น่าพอใจ จึงจะสามารถเรียนต่อไปในระดับ ปริญญาโทได้
  ปริญญาเอก (Doctoral Degree)
ระยะเวลาศึกษาประมาณ 3-5 ปี เป็นหลักสูตรวิจัยค้นคว้า คือ เขียนวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว ขณะนี้บางมหาวิทยาลัยพิจารณาเพิ่มหลักสูตร Coursework เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนระดับปริญญาเอกนี้ด้วย แต่ยังเป็นส่วนน้อย ผู้ที่จะเรียนระดับปริญญาเอกจึงควรมีพื้นฐานการทำวิจัยในระดับปริญญาโทมาก่อน

การเรียนภาษาอังกฤษ
หลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับชาวต่างชาติในออสเตรเลีย เรียกว่า ELICOS ( Language Intensive Course for Overseas Students ) ซึ่งปัจจุบันที่สถาบันเปิดสอนกว่า 160 แห่งทั้งใน และนอกเมือง ทั้งของรัฐ และเอกชน ซึ่งมีหลักสูตรต่างๆ ดังนี้
  หลักสูตรภาษาอังกฤษทั่วไป (General English)
สอนเน้นทักษะทางด้านการพูด ฟัง และเขียน
  หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาต่อ (English for Academic Purpose)
สอนเน้นทักษะไวยากรณ์ขั้นก้าวหน้า เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียน ที่พอมีพื้นฐานภาษาอังกฤษ
  หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในสายวิชาชีพ (English for Vocational Purpose)
สอนหลักภาษาเพื่อใช้ในการเรียนในสายวิชาชีพเฉพาะสาขาต่างๆ เช่น การบิน ท่องเที่ยว การแพทย์ โรงแรม
  หลักสูตรภาษาอังกฤษ เพื่อเรียนต่อในระดับมัธยม (Examination Preparation)
  หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการเตรียมการทดสอบ (Examination Preparation)
หลักสูตรเตรียมสอบ IELTS (International English Language Testing System) การสอบ TOEFL (Teaching of English as a Foreign Language) และ สอบข้อทดสอบ Cambridge English Australia

การประมาณค่าใช้จ่าย
ระดับ ค่าเล่าเรียนต่อปี(A$)
มัธยมศึกษา
6,000-10,000
หลักสูตรภาษาอังกฤษ ELICOS 7,000-10,000
หลักสูตรอาชีวศึกษาและฝึกอบรม 3,000-13,000
หลักสูตรปีพื้นฐาน 9,000-13,000
หลักสูตรปริญญาตรี 10,000-13,000
หลักสูตรปริญญาตรี (ใช้ห้องปฏิบัติการ) 14,000-16,000
หลักสูตรสูงกว่าปริญญาตรี 12,000-18,000

เกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษในการสมัครเข้าเรียน
ระดับการศึกษา IELTS TOFEL
มัธยมศึกษา / เตรียมเข้ามหาวิทยาลัย
5.0 - 5.5
500 - 550
วิทยาลัยเอกชน 4.5 - 5.5 450 - 550
วิทยาลัย/TAFE 5.5 - 6.0 500 - 550
มหาวิทยาลัย 6.0 - 7.0 550 - 600

ค่าครองชีพ
ค่าครองชีพของออสเตรเลียจัดอยู่ว่าไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถือเป็นการยากที่จะประเมินค่าใช้จ่ายได้ เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่เป็นตัวแปร ไม่ว่าจะเป็นค่าที่พัก ค่าเล่าเรียน ซึ่งจะต่างกันในแต่ละเมือง และค่าใช้จ่ายในการพักในเมืองและนอกเมือง ก็แตกต่างกัน หากกำหนดให้ค่าครองชีพในเมือง Sydney เท่ากับ A$ 200 เป็นมาตรฐาน จะเปรียบเทียบได้กับค่าครองชีพ ในอัตราที่แตกต่างกันในแต่ละเมืองดังนี้
Sydney
Adelaide Brisbane Canberra Darwin Hobert Melbourne Perth
A$ 200 A$ 133 A$ 150 A$ 148 A$ 161 A$ 132 A$ 158 A$ 149

ตารางเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายพื้นฐาน
นม A$ 1.30
ขนมปัง 1 แถว A$ 2.00
ไข่ไก่สด 1 โหล A$ 2.50
ค่ารถเมล์ / รถไฟ A$ 2.50
ค่าบัตรภาพยนตร์ A$ 12.00
ค่าตัดผม A$ 28.00

การทำงานของนักศึกษาต่างชาติ
การหางานทำในประเทศออสเตรเลีย ไม่ใช่เรื่องที่ยาก นักศึกษาต่างชาติ สามารถทำงานนอกเวลาเรียนได้ ไม่เกิน 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในช่วงเปิดภาคการศึกษา และสามารถทำงานได้เต็มเวลาหรือประมาณ 35 - 40 ชั่วโมง ในช่วงปิดภาค แต่นักศึกษาจะได้รับสิทธ์ในการทำงานพิเศษ ต่อเมื่อเดินทางถึงออสเตรเลีย และเริ่มเรียนที่สถาบันการศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่งเรียบร้อยแล้ว จึ่งยื่นขออนุญาตการทำงานพิเศษที่ Department of Immigration and Multicultural Affairs (DIMA) และชำระค่าธรรมเนียมจำนวน A$ 55 เสียก่อนและกรอกแบบฟอร์ม 157 P
ที่พักอาศัย
หอพักของสถาบัน และหอพักนักเรียนประจำ (Resident College & Boarding School)
หอพักสำหรับนักเรียนประจำจะมีเฉพาะในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งจะมีบริการอาหารครบทั้ง 3 มื้อ และจะต้องพักอาศัยอยู่ร่วมกับนักเรียนคนอื่นๆ หอพักนักศึกษามักจะเรียกว่า Halls of Residential College มีห้องเป็นสัดส่วน พร้อมทั้งเฟอร์นิเจอร์บางอย่าง
  ที่พักชั่วคราว (Hostel)
ทั่วประเทศออสเตรเลีย มีที่พักชั่วคราวให้เลือกทั้งแบบห้องเดี่ยว ห้องคู่ หรือเป็นห้องพักรวม พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก
  ที่พักแบบเช่า (Rental Accommodation)
อาจเช่าเป็นบ้านทั้งหลัง หรืออพาร์ตเมนต์ โดยทั่วไปจะมี 2 ประเภทคือ ที่พักแบบมีเฟอร์นิเจอร์พร้อม และที่พักแบบ ไม่มีเฟอร์นิเจอร์ ในการเช่าจะต้องทำสัญญาประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี อย่างต่ำสุดคือ 1 เดือน โดยจะต้องจ่ายค่าเช่าเป็นรายเดือน ในการทำสัญญาเจ้าของต้องการจดหมายรับรอง และเงินมัดจำ
  ที่พักแบบเช่าอยู่ร่วมกับผู้อื่น (Shared House Accommodation)
หมายถึงการเช่าที่พักร่วมกับผู้อื่น ซึ่งอาจเป็นเพื่อน หรือผู้อื่นที่ติดประกาศไว้ อาจจะเป็นบ้านหรืออพาร์ตเมนต์
  การพักกับครอบครัวชาวออสเตรเลีย (Homestay Family)
เป็นรูปแบบการพักอาศัยระยะสั้นถึงปานกลางที่นิยมมาก


TSAB ขอแนะนำ สถาบันและมหาวิทยาลัย

ข้อมูลเรียนต่อต่างประเทศ






Web site engine's code is Copyright © 2002 by PHP-Nuke. All Rights Reserved. PHP-Nuke is Free Software released under the GNU/GPL license.
Page Generation: 0.151 Seconds