จันทร์ -
ศุกร์ 9.00 - 18.00
น เสาร์ 9.00 - 16.30
น
ค่าธรรมเนียมวีซ่านักเรียน
AUS
17,350 Baht
USA
4,620 Baht
UK
10,348 Baht
NZ
5,000 Baht
Canada
4,000 Baht
Page Counter: 452
Since: 10 Apr
2005
ข้อมูลทั่วไปของประเทศแคนาดา
ToP
สถานฑูตแคนาดาประจำประเทศไทย ตั้งอยู่ที่
ชั้น 15 อาคารอับดุลราฮิม 990
ถนนพระราม 4 กรุงเทพฯ 10500
โทร : 0-2636-0540 โทรสาร : 0-2636-0561
แคนาดาเป็นสหพันธรัฐ ปกครองระบบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา
นายกรัฐมนตรีเป็นประมุขสูงสุด เครื่องหมายประจำชาติของประเทศแคนาดาเป็นรูปใบเมเปิล
เป็นใบไม้ที่มีสีสันสวยงาม และมีรอยหยักเป็น
5 แฉก สีของใบเมเปิลในฤดูใบไม้ร่วงจะมีสีเหลืองปนแดง
ปัจจุบันแคนาดาประกอบด้วย มณฑลและเขตปกครอง
2 เขต (Territories) อยู่ภายใต้ การปกครองของรัฐบาลกลาง
เมืองหลวงชื่อ ออตตาวา ซึ่งอยู่ที่มณฑลออนตาริโอ
แคนาดาได้รับเลือกจากสหประชาชาติว่า เป็นประเทศที่น่าอยู่อันดับหนึ่งของโลก
มีทัศนียภาพที่สวยงามหลากหลาย ประชากรมีคุณภาพชีวิตสูง
ระบบการศึกษามีคุณภาพสูงเป็นที่ยอมรับทั่วโลก
ซึ่งบางสถาบันนักศึกษาสามารถเลือกเรียนได้ทั้งภาษาอังกฤษ
และฝรั่งเศส ประกอบกับค่าเล่าเรียนที่ไม่แพงจนเกินไป
ค่าครองชีพอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอุตสาหกรรมในทวีปอเมริกาและยุโรป
ค่าเงินของประเทศแคนาดา โดยประมาณ 1 CAD
= 30 บาท
สภาพภูมิอากาศ
ToP
โดยทั่วไปแล้วแคนาดามี 4 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน
ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว
ในช่วงระหว่างฤดูหนาวบางพื้นที่ของประเทศ
อุณหภูมิบางครั้งอาจติดลบถึง 25 องศาเซลเซียส
แต่ความหนาวในลักษณะนี้จะเกิดในช่วงระยะสั้นๆ
ในช่วงกลางวันของฤดูร้อน อุณหภูมิประมาณ 35 องศาเซลเซียส
หรือร้อนกว่านั้น สำหรับอุณหภูมิในช่วง ฤดูใบไม้ผลิ
และใบไม้ร่วงจะอยู่ในระดับปานกลาง
แต่ละฤดูในแคนาดาจะมีความสวยงามของธรรมชาติแตกต่างกันไป
โดยทั่วไปแล้วแคนาดามี 4 ฤดูกาลคือ
- ฤดูร้อน -
ฤดูใบไม้ผลิ -
ฤดูใบไม้ร่วง -
ฤดูหนาว
การใช้ชีวิต
ToP
แคนาดาเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ประเทศหนึ่ง
และจัดอยู่ใน 10 อันดับแรก ของประเทศผู้นำทางอุตสาห กรรม
โดยอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศส่วนใหญ่
เป็นอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์
และอุตสาหกรรมการผลิตที่สำคัญประเภทอื่นๆ เช่น อาหาร
เครื่องดื่ม เหล็กดิบ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี
ซึ่งอุตสาหกรรมส่วนใหญ่นั้น จะอยู่ในเขตมณฑลออนตาริโอ
และควิเบค ทางด้านภาคตะวันตกของประเทศ
จะเป็นเขตการเพาะปลูก ส่วนมณฑลทางด้านมหาสมุทรแอตแลนติก
จะเป็นแหล่งหาปลา ทำเหมืองแร่ และป่าไม้
แคนาดามีระบบเงินแบบ ดอลล่าร์ (CA$) ซึ่ง CA$ 1 =
100 เซนต์ ในส่วนของธนบัตรแคนาดา จะแบ่งออกเป็น 5 ประเภท
คือ $5, $10, $20, $50 และ $100 ส่วนเหรียญ จะแบ่งออกเป็น
6 ประเภท คือ 1 cent(pennies), 5 cents(nickels), 10 cent
(dimes), 25 cents(quarters), $1(loonies), $2(toonies)
ประเทศแคนาดามีภาษาราชการ 2 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ
และภาษาฝรั่งเศส แต่ประชากรส่วนใหญ่
จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ
น้ำประปาสะอาดสามารถใช้สำหรับดื่มได้
การทำงานของนักศึกษาต่างชาติ
ในขณะศึกษา นักศึกษาสามารถที่จะทำงานได้
ในมหาวิทยาลัยที่กำลังศึกษาอยู่ เช่น ในห้องสมุด
ห้องอาหารสโมสรของมหาวิทยาลัย
สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาโทหรือเอก
สามารถทำงานเป็นผู้ช่วยครูผู้สอน
ส่วนนักศึกษาที่เลือกเรียนหลักสูตรที่มีการร่วมมือกัน
ระหว่างมหาวิทยาลัยกับสถานประกอบกิจการ ที่เรียกว่า Co-op
Education สามารถฝึกงานได้ โดยได้รับค่าจ้าง
หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว
นักศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้ในสาขาที่สำเร็จการศึกษา
แต่ต้องภายใน 60 วันหลังจากวันที่สำเร็จการศึกษา
โดยขอวีซ่าทำงาน (Employment Authorization)
ระบบการศึกษาของประเทศแคนาดา
ToP
เนื่องจากแคนาดาเป็นประเทศที่มั่งคั่ง
อุดมสมบูรณ์ มี ประชากรน้อย
รัฐบาลจึงมีเงินสนับสนุนทางด้านการศึกษาค่อน ข้างมาก
รัฐบาลแคนาดาให้เงินอุดหนุนการศึกษาต่อประชากร
สูงที่สุดในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมตะวันตก มาตรฐานการ
ศึกษาของแคนาดาเป็นที่ยอมรับทั่วโลกทุกระดับ
ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย
ระบบการศึกษาของแคนาดาประกอบด้วย
สถาบันการศึกษาทั้งของรัฐ และเอกชน ตั้งแต่ระดับอนุบาล
จนถึงระดับก่อนเข้าวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย
การศึกษาในแคนาดาอยู่ในความรับผิดชอบของ
กระทรวงศึกษาธิการของแต่ละมณฑล และเขตปกครองพิเศษ
ดังนั้นระบบการศึกษาจึงมีความแตกต่างกัน
แต่ด้วยการประสานความร่วมมือทางด้านวิชาการของคณาจารย์
และสถาบันต่างๆ รวมทั้งคณะกรรมการ พิจารณาจัดสรรงบประมาณ
เพื่อการศึกษา ทำให้การศึกษาทั่วทั้งแคนาดามีมาตรฐานสูง
ระดับเดียวกัน
ระดับประถมศึกษา
ระบบการศึกษาเริ่มจากชั้นอนุบาลเช่นเดียวกับประเทศอื่น
ๆ แต่ชั้นประถมศึกษา ในแต่ละมณฑลจะมีความแตกต่างกัน
ดังนี้คือ 1. กลุ่มที่มีชั้นประถม
1-8 คือ มณฑลออนตาริโอ และมณฑลมานิโตบา
2. กลุ่มที่มีชั้นประถม
1-7 คือ มณฑลบริติชโคลัมเบีย และเขตยูคอน
3. กลุ่มที่มีชั้นประถม 1- 6
คือทุกมณฑลนอกจากที่กล่าวมาแล้ว
ระดับมัธยมศึกษา
จำนวนการศึกษาระดับมัธยมจะแตกต่างกันไปในแต่ละมณฑล
แต่เมื่อรวมการเรียน ระดับประถมศึกษา
และมัธยมศึกษาแล้วจะรวมใช้เวลาเรียน 12 ปี
ข้อยกเว้นคือ มณฑลควิเบค และมณฑลออนตาริโอ
จะจัดระบบชั้นมัธยมเลยไปอีก 1 ปี รวมเวลา เรียน 13
ปี คล้ายๆ กับว่ามีมัธยม 7
แต่นักเรียนที่เรียนจบชั้น มัธยม 7 จะเรียนอีก 3 ปี
ก็ได้รับปริญญาตรี ในขณะที่มณฑล
และเขตการปกครองอื่นๆ
หลักสูตรปริญญาตรีจะใช้เวลาเรียน 4 ปี ในมณฑลควิเบค
ยังมีระบบการศึกษา ซึ่งอยู่กึ่งกลาง
ระหว่างมัธยมและมหาวิทยาลัย
ซึ่งเป็นระบบคล้ายของฝรั่งเศส ที่เรียกว่า เซเจ๊ฟ
(Cegep) การศึกษาในระดับนี้จะรับผู้จบ
มัธยมศึกษาปีที่ 5 เข้าเรียนวิชาชีพเป็นเวลา 2 ปี
โรงเรียนมัธยมของแคนาดามีทั้งของรัฐบาล และของเอกชน
ระดับมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยในแคนาดามีทั้งขนาดเล็กมีนักศึกษาไม่ถึง
1,000 คน ไปจนถึงขนาดใหญ ่ที่มีนักศึกษากว่า 35,000
คน การเข้าศึกษาถูกกำหนดโดยมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง
โดยทั่วไป จะไม่มีการสอบเข้า
แต่ละมหาวิทยาลัยมีมาตรฐานของตนเอง เนื่องจากแคนาดา
มีภาษาราชการ 2 ภาษาคือ ภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศส
ผู้สอบเข้ามหาวิทยาลัย จะเลือกสอบได
้ทั้งสถาบันที่ใช้ภาษาอังกฤษ
และสถาบันที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส บางมหาวิทยาลัย สอนทั้ง
2 ภาษา
สำหรับความสามารถในการใช้ภาษาของนักศึกษาต่างชาติ
นั้น มหาวิทยาลัยทั่วไป
(ยกเว้นที่สอนเป็นภาษาฝรั่งเศส) ใช้คะแนน TOEFL หรือ
IELTS โดยต้องได้คะแนน TOEFL อย่างต่ำ 550
มีมหาวิทยาลัยจำนวนมากที่กำหนดคะแนนไว้ที่ 600
ขึ้นอยู่กับ สาขาวิชาที่จะเรียน
ระยะเวลาการศึกษาในมหาวิทยาลัยของ
แต่ละมณฑลนั้นแตกต่างกันไปจาก 3-5 ปี
ซึ่งนักศึกษาควรจะต้องตรวจสอบกับมหาวิทยาลัยที่สมัคร
บางมหาวิทยาลัยจะมี ปริญญาตรี 2 แบบ คือ แบบทั่วไป
(Ordinary Degree) ซึ่งอาจเรียนจบภายใน 3 ปี
และแบบเกียรตินิยม (Honours Degree)
ซึ่งมีวิชาให้เรียนเพิ่มอีก 1 ปี
เหมาะสำหรับผู้จะเรียนต่อปริญญาโท ในบางแขนงวิชา
มีการฝึกงานด้วยหลักสูตร อาจจะเป็น 5 ปี
การศึกษาภาคปฎิบัติ
คือการศึกษาที่สถาบันการศึกษาร่วมมือกับภาคธุรกิจ
เปิด โอกาสให้นักศึกษา ได้ปฏิบัติงานจริง
โดยจะได้รับค่าจ้าง โดยทั่วไป
นักศึกษาจะฝึกงานประมาณ 2 ภาคเรียน ก่อนที่จะสำเร็จ
การศึกษา การโอนหน่วยกิต แต่ละมหาวิทยาลัย
จะมีระเบียบการเทียบโอนหน่วยกิต ที่แตกต่างกันไป
นักศึกษาต้องตรวจสอบไปยังมหาวิทยาลัยที่ต้องการเทียบโอนหน่วยกิต
ก่อนตัดสินใจย้ายสถานศึกษา
มีโรงเรียนสอนภาษาสำหรับต่างชาติที่เรียกว่า
English as a Second Language (ESL)
และสอนภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่สอง French as a Second
Language (FSL) หลายแห่ง กระจายตามเมืองใหญ่ๆ ทั่วแคนาดา
ทั้งนี้เพราะผู้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในแคนาดา
จำเป็นต้องปรับระดับทักษะภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัย
และวิทยาลัยชุมชนเกือบทุกแห่ง มีแผนกภาษา
อังกฤษเปิดสอนหลักสูตร ESL สำหรับนักศึกษาต่างชาติ
แต่จะมีข้อกำหนดวันเริ่มเรียนเป็นข้อๆ
และคุณสมบัติของผู้เรียนระบุไว้
ส่วนโรงเรียนสอนภาษาเอกชนนั้น นักศึกษาสามารถเข้า
เรียนได้ตลอดปี และมีหลักสูตรให้เลือกมากกว่า
การเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของแคนาดา
นักศึกษาควรศึกษารายละเอียดของแต่ละสถาบัน
และต้องเตรียมเอกสาร ที่ทางสถาบันกำหนดให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ก่อนนำส่งสำนักงานนายทะเบียนที่จะศึกษา
หากเอกสารไม่ครบถ้วนทางเจ้าหน้าที่ อาจส่งเอกสารคืน
ทำให้การสมัครล่าช้า สถานศึกษาในประเทศ
แคนาดาค่อนข้างเข้มงวด และจะไม่พิจารณาใบสมัครของนักศึกษา
จนกว่าจะได้เอกสารทุกอย่างครบ ถ้าไม่สามารถนำส่งเอกสารได้
ครบถ้วนนักศึกษาควรแนบใบสมัครแจ้งเหตุผลให้ทางสถาบันทราบ
และกำหนดวันที่จะยื่นเอกสารที่ยังขาด
โดยทั่วไปแคนาดายินดีต้อนรับนักศึกษาต่างชาติ
แต่เนื่อง ด้วยสถาบันแต่ละแห่ง
ได้รับเงินสนับสนุนค่อนข้างมากจากรัฐบาล
จึงมีการจำกัดจำนวนนักเรียนต่างชาติไว้ที่ประมาณ 5
เปอร์เซ็นต์
ดังนั้นนักศึกษาควรสมัครเรียนมากกว่าหนึ่งแห่งเพื่อเพิ่มโอกาส
ในการได้รับการตอบรับ
การเข้าศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท
นักศึกษาควรสมัครเข้าเรียนหลักสูตร University Transfer
Program ในวิทยาลัยก่อน ใช้เวลาเรียน 2 ปี ทำคะแนนให้ดี
แล้วโอนหน่วยกิตเข้ามหาวิทยาลัย หลังเรียนต่ออีก 2 ปี
จะได้ปริญญา สำหรับปริญญาโทนักศึกษาที่มีคะแนนภาษาอังกฤษ
และผลการเรียนดี สามารถสมัครเรียนโดยตรง
ในกรณีที่ได้คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนดไว้
นักศึกษาสามารถ
เข้าเรียนภาษาในมหาวิทยาลัยที่ต้องการเรียนก่อน ทำคะแนน
TOEFL ให้ได้ 50 ถึง 600
ปีการศึกษาในแคนาดาส่วนใหญ่ แบ่งเป็น 2
ภาคเรียนคือ ภาคเรียนที่ 1 (Fall Semester)
เดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคม ภาคเรียนที่ 2 (Winter
Semester) เดือนมกราคมถึงเดือน เมษายน ช่วงหยุดภาคฤดูร้อน
(Spring และ Summer) เดือน พฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม
สถาบันบางแห่งเปิดสอนหลักสูตร ภาคฤดูร้อนด้วย
ตารางเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายพื้นฐาน
รถเมล์เที่ยวเดียว
2.00 เหรียญแคนาดา
โทรศัพท์
0.25 เหรียญแคนาดา
เฉลี่ยอาหาร 1 มื้อ
10-25 เหรียญแคนาดา
บัตรชมภาพยนตร์
8.50 เหรียญแคนาดา
จดหมายภายในประเทศ
0.46 เหรียญแคนาดา
Province
Under
Graduate
Graduate
Newfoundland
$7,000
$2500 - $5,000
Prince Edward Island
$7,150
$6,000
Nova Scotia
$6,900 - $10,700
$4,500 -
$13,500
New Brunswick
$5900 - $8,900
$5,700 -$7,200
Quebec
$8,850 - $9,880
$7,2000 - $22,000
Ontario
$7,000 - $12,902
$3,500 - $23,000
Manitoba
$5,850 - $6,885
$5,600 - $8,450
Saskatchewan
$6,2000 - $9,000
$4,891 - $7,625
Alberta
$5,950 - $8,100
$5997 - $19,000
British Columbia
$4,500 - $15,000
$4,100 -
$25,000
การพักอาศัยอาจจะเป็นลักษณะพักอยู่กับครอบครัวชาว
แคนาดา เช่าบ้านหรืออพาร์ตเมนต์ ค่าใช้จ่ายจะแตกต่างกันไป
ตามระดับราคาของที่พัก
การพักกับครอบครัว
ครอบครัวชาวแคนาดายินดีต้อนรับนักศึกษาต่างชาติ
การพักแบบนี้สะดวก และปลอดภัยที่สุด
เป็นวิธีที่ได้ผลที่สุดในการ พัฒนาภาษาอังกฤษ
หรือฝรั่งเศส พร้อมกับได้เรียนรู้ชีวิตประจำวัน
ของชาวแคนาดา นักเรียนจะรับประทานอาหารพร้อม
กับเจ้าของบ้าน และมีห้องพักส่วนตัว
ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยประมาณ 400 ถึง 800
เหรียญแคนาดาต่อเดือน
หอพัก
หอพักในสถานศึกษาส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ใกล้กับสถานศึกษา
และมักจะใช้ห้องครัว ห้องซักรีด ห้องสุขาร่วมกัน
หอพักในสถาน ศึกษาจะแบ่งเป็นหอพักชาย และหอพักหญิง
บางที่มีห้องอาหาร บริการด้วย
ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยประมาณ 350 ถึง 850
เหรียญแคนาดาต่อเดือน
บ้านเช่า หรืออพาร์ทเมนต์
บ้านเช่าส่วนใหญ่จะมีราคาสูงและมักจะไม่รวมเฟอร์นิเจอร์
แต่จะมีห้องครัว ห้องน้ำ ห้องนอน ที่เป็นส่วนตัว
บางแห่งจะรวมค่าใช้จ่ายของเครื่องทำความร้อน
หรือค่าไฟฟ้าไว้ในค่าเช่า
โดยปกติแล้วทางสถานศึกษาจะมีรายชื่อของบ้านเช่าที่อยู่ใกล้
สถานศึกษาให้นักศึกษาเลือก
หรือนักศึกษาอาจหาเช่าอพาร์ตเมนต์ได้จากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
ก่อนเซ็นสัญญาเช่า นักศึกษา
ต้องตรวจสอบเงื่อนไขการเช่าอย่างละเอียด
และก่อนย้ายเข้าต้อง ตรวจสภาพของบ้านเช่า
ว่ามีสิ่งใดชำรุดเสียหายหรือไม่
ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสำหรับบ้านเช่าหรือ
อพาร์ตเมนต์ประมาณ 400-1,500 เหรียญแคนาดาต่อเดือน
แต่นักศึกษาสามารถพักรวมกัน
และเฉลี่ยค่าใช้จ่ายร่วมกัน
TSAB ขอแนะนำ
สถาบันและมหาวิทยาลัย