จันทร์ -
ศุกร์ 9.00 - 18.00
น เสาร์ 9.00 - 16.30
น
| |
ค่าธรรมเนียมวีซ่านักเรียน |
|
AUS |
17,350 Baht |
|
USA |
4,620 Baht |
|
UK |
10,348 Baht |
|
NZ |
5,000 Baht |
|
Canada |
4,000 Baht |
| |
Page Counter: 255
Since: 10 Apr
2005 |
| | |
| |
ระบบการศึกษาของประเทศเยอรมัน |
ToP |
ในเยอรมันแบ่งช่วงเวลาของการศึกษาออกเป็น 2 ช่วง
คือ
|
|
ภาคเรียนฤดูหนาว
Wintersemester (1 ตุลาคม - 31 มีนาคม)
และ |
|
|
ภาคเรียนฤดูร้อน
Sommersemester ( 1 เมษายน - 30 กันยายน)
|
ในแต่ละภาคเรียนจะมี ช่วงเวลาที่มีการเรียนการสอน
Vorlesungszeit และ ช่วงปิด vorlesungsfreie
Zeit ดังนี้ คือ
|
|
ภาคเรียนฤดูหนาว(WS)
เริ่มเรียนประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
|
|
|
ภาคเรียนฤดูร้อน(SS)
เริ่มเรียนประมาณกลางเดือนเมษายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม
|
ช่วงเวลาที่มีการเรียนการสอนนี้ หรือจะเรียกว่า
"เปิดเทอม" จะเป็นช่วงเวลาที่ นักศึกษาไปนั่งฟังบรรยาย
จากอาจารย์ตามรายวิชาต่าง ๆ ส่วนช่วง "ปิดเทอม"
บางครั้ง อาจจะมีการจัดสอบขึ้น นั่นคือ การศึกษาในเยอรมัน
ให้ความหมายครอบคลุมไปถึงว่า "นักศึกษาต้องศึกษาด้วยตนเองตลอดเวลา"
ช่วงที่หยุดเรียน ก็เป็นเวลาที่นักศึกษาควร
จะอ่านหนังสือ ทำความเข้าใจเนื้อหาวิชาให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ มักจะกำหนดให้ภาคเรียนฤดูหนาวเป็น
"ภาคเรียนที่ 1" หมายความว่า ในมหาวิทยาลัยบางแห่งและหรือบางสาขาวิชา
เปิดรับนักศึกษาให้เข้า เรียนได้เฉพาะภาคเรียนฤดูหนาวเท่านั้น
โดยเฉพาะด้านวิศวกรรมศาสตร์ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งก็กำหนด
หลักเกณฑ์เงื่อนไขต่างกันไป
หลักสูตรในมหาวิทยาลัย โดยปกติจะแบ่งเป็น 2 ส่วน
คือ
|
1. |
Grundstudium
จะเรียนวิชาพื้นฐานสำหรับการเตรียมตัวเรียนในระดับสูงขึ้นไป
ผู้ที่เรียนจนจบ หลักสูตร จะต้องทำการสอบ
Zwischenpruefung หรือ Vordiplompruefung
เมื่อสอบ ผ่านแล้ว จึงจะมีสิทธิ์สอบ
ในระดับ Hauptustudium ต่อไป |
|
2. |
Hauptstudium
จะเรียนลึกซึ้งลงไปในแต่ละสาขาวิชา ผู้ที่สอบ
Diplompruefung ผ่าน จะได้รับ วุฒิ
Diplom (Uni) ซึ่งเทียบเท่ากับปริญญาโทของเมืองไทย |
ปัจจุบันเยอรมันมีมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาประมาณ
300 แห่ง แบ่ง ออกเป็น
|
1. |
มหาวิทยาลัยสายวิชาการ
|
|
Universitaet
(University) |
|
|
Technische Universitaet
/ Technische Hochschule (Technical
University) |
|
|
Paedagogische Hochschule
/ Erziehungswissenschaften
Hochschule (Teacher training
school) |
|
|
Hochschule fuer Medizin
und Tiermedicine (Medical
College) |
|
|
Philosophisch - Theologische
Hochschule (College of Philosophy
and Theology) |
|
|
อื่น ๆ ได้แก่
|
- |
Muenchener
Hochschule fuer Fernsehen
und Film (College
of Television and
Film in Munich) |
|
- |
Universitaet der
Bundeswehr (Army College
in Hamburg und Munich)
|
|
- |
Hochschule fuer
Verwaltungswissenschaften
Speyer (College of
Administrative Sciences
in Speyer) |
|
- |
Koeln Deutsche Sporthochschule
(German College of
Sport - Science in
Cologne) |
|
ทั้งนี้นักศึกษาสามารถหารายละเอียดได้
ดังนี้
1. ที่อยู่ติดต่อและเว็บไซท์ของแต่ละมหาวิทยาลัยแยกตามตัวอักษร
2. เว็บไซท์ของแต่ละมหาวิทยาลัยแยกตามรัฐ
3. เว็บไซท์ของแต่ละมหาวิทยาลัยแยกตามสาขาวิชา
|
|
2. |
มหาวิทยาลัยสายวิชาชีพ
Fachhochschule
ความแตกต่างของมหาวิทยาลัยสายวิชาชีพกับสายวิชาการก็คือ
เน้นการเรียน ภาคปฏิบัติมากกว่า ระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรน้อยกว่า
ประมาณ 1 ปี ในบางรัฐ กำหนดหลักสูตรไว้
8 ภาคการศึกษา คุณวุฒิของผู้จบการศึกษาจาก
Fachhochschule โดยทั่วไปเทียบได้ในระดับปริญญาตรีของไทย
ทั้งนี้ สามารถหารายละเอียดเพิ่มเติมจาก
เว็บไซท์ของแต่ละมหาวิทยาลัย |
|
3. |
มหาวิทยาลัยแบบผสม
Gesamthochschule
เป็นมหาวิทยาลัยที่มีลักษณะพิเศษต่างจากมหาวิทยาลัยโดยทั่วไป
โดยเปิดสอน ทั้งหลักสูตร Diplom Uni
และ Diplom FH ไว้ในแห่งเดียวกัน กล่าวคือ
หลังจาก นักศึกษาสำเร็จการศึกษา ในระดับพื้นฐาน
Grundstudium ซึ่งเป็นหลักสูตร 2 ปีแล้ว
นักศึกษามีสิทธิ์ที่จะเลือกทำข้อสอบ
Zwischenpruefung เพื่อเลือกเรียนหลักสูตร
ในระดับ Hauptstudium ซึ่งมีอยู่ 2
ประเภท คือ
|
- |
เน้นด้านวิชาการ
เป็นหลักสูตร 2 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษามีสิทธิ์
เรียนต่อในระดับปริญญาเอกได้
นั่นคือ เป็นลักษณะหลักสูตรเช่นเดียวกับ
มหาวิทยาลัยทั่วไปนั่นเอง การเรียนในระดับHauptstudium
จะเน้นหนัก ไปด้านทฤษฎี |
|
- |
เน้นด้านปฏิบัติ
เป็นหลักสูตร 1 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้รับ
Diplom FH มีความเท่าเทียม
กับผู้ศึกษาจบจาก Fachhochschule
ผู้สำเร็จการศึกษาไม่สามารถขอเรียนต่อในระดับปริญญาเอกได้
จนกว่าจะขอเรียนบางวิชาเพิ่มเติมจาก
Brueckenkurs ซึ่งทาง มหาวิทยาลัยจะเป็นผู้ตั้งกฎเกณฑ์และเงื่อนไขต่าง
ๆ ไว้ การเรียน ในหลักสูตรนี้จะเน้นด้านปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี
|
มหาวิทยาลัยแบบผสมนี้ทำให้ผู้เรียนจบขั้น
Diplom ของมหาวิทยาลัยสายวิชา- ชีพ
มีโอกาสได้เรียนต่อระดับปริญญาเอกได้
แต่ก็ต้องเสียเวลามากกว่าผู้ที่เรียนจบ
จากมหาวิทยาลัยโดยตรง ในเยอรมันเองคุณสมบัติของผู้ที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยสายวิชาการ
และสาย วิชาชีพไม่ต่างกันมากนัก ทั้งนี้หลักสูตร
4 ปี เป็นหลักสูตรสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษา
เนื้อหาวิชาอย่างลึกซึ้งในทางทฤษฎี
และสามารถทำงานด้านวิชาการ เพื่อวิจัยค้นคว้า
ต่อไปได้ ส่วนผู้จบหลักสูตร 3 ปี ก็มักจะต้องการนำความรู้ที่เรียนมาไปประยุกต์ใช้งาน
ได้เลย ไม่มุ่งการค้นคว้าวิจัย ดังนั้นจึงมุ่งเน้น
ด้านปฏิบัติมากกว่าด้านทฤษฎี |
|
4. |
มหาวิทยาลัยดนตรีและศิลปะ
Kunsthochschule und Musikhochschule
เป็นมหาวิทยาลัยด้านศิลปะและการดนตรี ไม่มีหลักสูตรตายตัว
เงื่อนไขการจบการศึกษา ขึ้นกับระเบียบการสอบ
Pruefungsordnung ของแต่ละแห่ง เงื่อนไข
ในการเข้ารับการศึกษา นอกจากประกาศนียบัตรเทียบเท่า
มัธยมสูงสุด Abitur ของเยอรมัน Hochschulreife
(มัธยมศึกษาปีที่ 7 ของไทย) จะมีการสอบภาค
ปฏิบัติ Eignungspruefung เป็นการทดสอบความสามารถ
ทางด้านศิลปะ หรือดนตรี ผู้ที่ทำคะแนนได้ดี
สามารถจะเข้าเรียนได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีประกาศนียบัตรเทียบเท่า
มัธยมสูงสุดของเยอรมันก็ได้ ทั้งนี้สามารถหารายละเอียดเพิ่มเติมจาก
เว็บไซท์ของ
แต่ละมหาวิทยาลัย |
ค่าใช้จ่ายของนักเรียนที่มาศึกษาต่อในเยอรมันที่นำมาแสดงนี้
อ้างอิงมาจาก สำนักงาน ก.พ. ซึ่งเทียบเคียง
กับค่าใช้จ่ายของนักศึกษาไทยซึ่งได้รับทุนการศึกษาจาก
DAAD ซึ่งเป็นทุนการศึกษา จากรัฐบาลเยอรมัน
ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ สามารถเปลี่ยนแปลงได้
รายละเอียดงบประมาณค่าใช้จ่ายของนักเรียน
ทุนรัฐบาลศึกษาวิชาในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
ตั้งแต่ 1 มกราคม 2537 |
|
|
หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาต่อ
(English for Academic Purpose) ระยะ
6 เดือนแรก
ค่าใช้จ่ายประจำเดือน
6 เดือน เดือนละ 750 มาร์ค 4,500 มาร์ค
ค่าเล่าเรียน
3 เทอม ๆ ละ 2 เดือน 15,030 มาร์ค
ค่าหนังสือและอุปกรณ์การศึกษา
380 มาร์ค
ค่าประกันสุขภาพ
750 มาร์ค
ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด
300 มาร์ค
รวม 6 เดือน
21,110 มาร์ค
จะสังเกตเห็นว่าค่าใช้จ่ายในขณะเรียนภาษาจะค่อนข้างสูงมาก
เนื่องจากค่าเล่าเรียน ที่สถาบันสอนภาษา
Goethe Institut สูงมาก เมื่อเทียบกับสถาบันสอน
ภาษาอื่น อย่างไรก็ตาม ข้อดีของการเรียนที่สถาบันสอนภาษา
Goethe Institut ก็คือ มีระบบการเรียนการสอน
ที่ได้รับการยอมรับ นอกจากนี้ ค่าเล่าเรียนที่จ่ายออกไปยัง
รวมค่าที่พักและค่าอาหาร สำหรับนักเรียนด้วย
นั่นคือ นักเรียนไม่จำเป็นต้องกังวล
เกี่ยวกับการหาที่พัก เมื่อแรกเดินทางมาถึงเยอรมัน
ค่าอาหารนั้นนักเรียนสามารถขอคืน จากสถาบันสอนภาษาได้
หากนักเรียนไม่ต้องการรับประทานที่จัดโดยสถาบันสอนภาษา
โดยปกตินักเรียนไทย มักจะเลือกรับเงินค่าอาหารคืน
และเตรียมอาหารรับประทาน ด้วยตนเอง
เนื่องจากประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก และสามารถเลือกรับประทานอาหารที่
ถูกปากได้มากกว่า ค่าประกันสุขภาพนั้นสถาบันสอนภาษา
Goethe Institut จะรับเป็นภาระหาบริษัทประกันสุขภาพ
ให้กับนักเรียนเอง |
|
|
นักเรียนศึกษาระดับเตรียมมหาวิทยาลัย(Studienkolleg)
และผู้ฝึกงานก่อนเข้าเรียน Fachhochschule
ค่าใช้จ่ายประจำเดือน เดือนละ 1,100 มาร์ค
ปีละ 13,320 มาร์ค
ค่าหนังสือและอุปกรณ์การศึกษา ปีละ 760 มาร์ค
ค่าประกันสุขภาพ ปีละ 1,500 มาร์ค
ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ปีละ 600 มาร์ค
รวมปีละ 16,480 มาร์ค
ในระดับเตรียมมหาวิทยาลัยหรือขณะฝึกงานก่อนเข้าเรียนนี้
ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ค่าประกันสุขภาพ
เนื่องจากขณะศึกษาระดับเตรียมมหาวิทยาลัย
หรือฝึกงาน ก่อนเข้าเรียนนี้ รัฐบาลเยอรมันไม่บังคับให้ทำประกันสุขภาพ
แต่นักเรียนจำเป็นต้องทำ ประกันสุขภาพ
เพราะถ้าหากเกิดเหตุเจ็บไข้ได้ป่วย
ค่ารักษาพยาบาลโดยไม่มีประกัน สุขภาพจะสูงมาก
ดังนั้น การทำประกันสุขภาพในช่วงเวลานี้กับบริษัทประกันสุขภาพ
จึงเป็นกรณีพิเศษ อัตราการประกันสูงขึ้นกว่าปกติเล็กน้อย |
|
|
นักเรียนที่ศึกษาเทียบได้ระดับปริญญาตรี-โท
(ระดับ Diplom ทั้ง Fachhochschule
และ Universitaet)
ค่าใช้จ่ายประจำเดือน เดือนละ 1,300 มาร์ค
ปีละ 15,600 มาร์ค
ค่าหนังสือและอุปกรณ์การศึกษา ปีละ 760 มาร์ค
ค่าประกันสุขภาพ ปีละ 990 มาร์ค
ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ปีละ 600 มาร์ค
รวมปีละ 18,250 มาร์ค
เมื่อเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว ค่าใช้จ่ายโดยปกติจะลดลง
เนื่องจาก มหาวิทยาลัยใน เยอรมันไม่คิดค่าเล่าเรียน
ในการลงทะเบียนจะเสียเพียงค่า ประกันสังคมประมาณ
60-90 มาร์ค แล้วแต่มหาวิทยาลัย บางมหาวิทยาลัยจะมีค่าโดยสารรถประจำทางระยะ
ใกล้ สำหรับทั้งภาคการศึกษา คือ 6 เดือน
คิดรวมไปด้วย แต่เมื่อเฉลี่ยแล้วจะถูกลงไป
มาก ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ได้แก่ค่าที่พัก
ค่าอาหาร นักศึกษามีสิทธิ์พักในหอพักมหาวิทยาลัย
ทีมีราคาประหยัดกว่าห้องพักประเภทอื่น
นอกจากนี้ หอพักมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะมี
ครัวภายใน ให้นักศึกษาทำอาหารรับประทานเอง
และมีโรงอาหารประจำมหาวิทยาลัย ขายอาหารกลางวันให้แก่นักศึกษาในราคาประหยัด |
|
|
นักเรียนที่ศึกษาขั้นปริญญาเอก
ค่าใช้จ่ายประจำเดือน เดือนละ 1,450 มาร์ค
ปีละ 17,400 มาร์ค
ค่าหนังสือและอุปกรณ์การศึกษา ปีละ 760 มาร์ค
ค่าประกันสุขภาพ ปีละ 990 มาร์ค
ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ปีละ 600 มาร์ค
รวมปีละ 20,050 มาร์ค
สำหรับนักศึกษาปริญญาเอกนั้นจะมีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน
เช่นเดียวกับ นักศึกษา ส่วนค่าประกันสุขภาพนั้นขึ้นกับอายุของนักศึกษา
นั่นคือ หากนักศึกษาอายุ เกิน 30 ปี
หรือเรียนอยู่มากกว่าภาคการศึกษาที่
14 จะเสียค่าประกันสุขภาพมากกว่า ปกติ |
|
|
TSAB ขอแนะนำ
สถาบันและมหาวิทยาลัย
|
|
|