TSAB :: Thai Studyabroad Consultant
Work & Travel USA
username:
password:
Contact US

จันทร์ - ศุกร์
9.00 - 18.00 น

เสาร์
9.00 - 16.30 น

ค่าธรรมเนียมวีซ่านักเรียน
AUS 17,350 Baht
USA 4,620 Baht
UK 10,348 Baht
NZ 5,000 Baht
Canada 4,000 Baht
Related Link
ทุนการศึกษา [OCSC]
ทุนการศึกษา [NSTDA]
ตั๋วนักเรียนราคาประหยัด
ร้านอาหารไทยในต่างแดน
หาที่พักต่างแดน
EXCHANGE RATE
TOFEL
IELTS
GMAT
GRE
สมาชิก
Welcome, Anonymous
Nickname
Password
(Register)
Membership:
Latest: Barnypok
New Today: 0
New Yesterday: 0
Overall: 24955

People Online:
Visitors:
Members:
Total: 0
Counter
Page Counter: 481
Since: 10 Apr 2005
Exchange Rate





  สภาพภูมิประเทศ
  สภาพภูมิอากาศ
  การใช้ชีวิต
  ระบบการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น


สภาพภูมิประเทศ ToP
ญี่ปุ่นเป็นประเทศหมู่เกาะ ซึ่งประกอบไปด้วยเกาะต่าง ๆ กว่า 4,000 เกาะ เรียงรายเป็นแนวยาวจากด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ของมหาสมุทรแปซิฟิก และตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของโลก จึงเป็นที่มาของชื่อ " ดินแดนอาทิตย์อุทัย " จุดทางใต้สุดอยู่ที่เส้นรุ้งประมาณ 24 องศาเหนือ และเหนือสุดที่ประมาณ 45 องศาเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 377,800 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจรดใต้ ประมาณ 2,800 กิโลเมตร ญี่ปุ่นมีขนาดเล็กกว่าไทยประมาณ 0.7 เท่า แต่มีประชากรมากกว่าประมาณ 2 เท่า
ญี่ปุ่นประกอบไปด้วยเกาะหลัก 4 เกาะคือ ฮอกไกโด ฮอนชู ชิโกกุและคิวชิว
เกาะฮอนชูซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด ยังแบ่งเป็น 5 ภาค เรียงจากเหนือลงมาคือ โทโฮะกุ คันโต จูบุ คิงคิ และจูโงกุ
มีจังหวัดต่าง ๆ ทั้งหมด 47 จังหวัด ( Prefecture ) แบ่งเป็นเมืองต่าง ๆ รวมทั้งหมดมากกว่า 650 เมือง โดยมีโตเกียวเป็นเมืองหลวงของประเทศมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2411
สภาพภูมิอากาศ ToP
กล่าวโดยทั่ว ๆ ไป ญี่ปุ่นมีภูมิอากาศแบบเขตอบอุ่น ฤดูใบไม้ผลิ (ฮารุ) มีอากาศที่สบาย น่าอยู่อาศัย ต้นไม้เริ่มผลิดอกออกใบ ในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิมีดอกซากุระบานสะพรั่ง ไล่จากคิวชูไปจนถึงฮอกไกโดเป็นที่สุดท้าย ฤดูร้อน (นัตซึ) อากาศค่อนข้างร้อนแบบเหนอะหนะ ฤดูใบไม้ร่วง (อะกิ) อากาศแห้งและเย็นสบาย ใบไม้กลายเป็นสีเหลืองทอง ในขณะที่ฤดูหนาว (ฟุยุ) อากาศค่อนข้างหนาวเย็น
แต่เนื่องจากพื้นที่ของประเทศที่ทอดเป็นแนวยาวกว่า 3,000 กิโลเมตร ทำให้ภูมิอากาศของแต่ละท้องถิ่น มีความแตกต่างกันออกไป ทางเหนือของญี่ปุ่น ในแถบฮอกไกโดมีอากาศหนาวเย็นคล้ายยุโรป มีหิมะตกหนักในฤดูหนาว ด้วยลมหนาวจากไซบีเรีย ได้พัดเอาความชื้นจากทะเลญี่ปุ่นเข้ามา ในขณะที่พื้นที่ทางใต้ของคิวชูและโอกินาวา มีสภาพอากาศค่อนไปทางเขตร้อนชื้น และมีฝนตกชุกในฤดูฝน
ฤดูกาลแบ่งออกเป็น 4 ฤดูคือ
- ฤดูหนาว ประมาณเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์
- ฤดูใบไม้ผลิ ประมาณเดือนมีนาคม - พฤษภาคม
- ฤดูร้อน ประมาณเดือนมิถุนายน - สิงหาคม
- ฤดูใบไม้ร่วง ประมาณเดือนกันยายน - พฤศจิกายน
ช่วงที่มีฝนตกมากที่สุดอยู่ในเดือนมิถุนายน ไปจนถึงกลางเดือนกรกฎาคม
ช่วงที่มีพายุไต้ฝุ่นจะอยู่ในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน
ช่วงที่ร้อนที่สุดคือเดือนสิงหาคม
เวลาในญี่ปุ่นจะเร็วกว่าประเทศไทย 2 ชั่วโมง
อุณหภูมิโดยเฉลี่ยในแต่ละเดือนของเมืองต่าง ๆ จากเหนือจรดใต้ (องศาเซลเซียส)
เมือง ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
Sapporo -4.6 -4.0 -0.1 6.4 12.0 16.1 20.2 21.7 17.2 10.8 4.3 -1.4
Sendai 1.0 1.3 4.2 10.0 14.9 18.3 22.0 24.1 20.1 14.4 8.9 4.0
Tokyo 5.2 5.6 8.5 14.1 18.6 21.7 25.2 27.1 23.2 17.6 12.6 7.9
Nagoya 3.7 4.3 7.6 13.8 18.4 22.0 25.8 27.1 23.1 17.0 11.5 6.2
Osaka 5.5 5.8 8.6 14.6 19.2 23.0 27.0 28.2 24.2 18.3 12.9 7.9
Fukuoka 5.8 6.4 9.5 14.6 18.8 22.3 26.9 27.6 23.7 18.2 13.0 7.8
Naha 16.0 16.3 18.1 21.1 23.8 26.2 28.3 28.1 27.2 24.5 21.4 18.0
การใช้ชีวิต ToP
ภาษาราชการ
ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่ใช้ทั่วประเทศ แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันบ้างในแต่ละภูมิภาค ซึ่งจะมีภาษาท้องถิ่นของตนเอง แต่จากจำนวนคนญี่ปุ่นที่มีมากกว่า 120 ล้านคน ทำให้ภาษาญี่ปุ่น เป็นภาษาที่มีผู้ใช้มากเป็นอันดับที่ 10 รองจากภาษาจีน , อังกฤษ , รัสเซียและอื่น ๆ
ภาษาอังกฤษ จะใช้ได้บ้างก็เฉพาะในบริเวณสนามบิน โรงแรมใหญ่ ๆ หรือสถานที่ราชการบางแห่ง ที่ต้องมีการติดต่อสื่อสารกับคนต่างชาติ แต่โดยทั่วไปแล้ว กล่าวได้ว่า คนญี่ปุ่นที่พูดภาษาอังกฤษได้ดีจะมีน้อยมาก เด็กนักเรียนญี่ปุ่นจะเริ่มเรียนภาษาอังกฤษ เมื่ออยู่ชั้น ม.1 ( เกรด 7 ) และด้วยระบบการสอนที่เน้นการให้ข้อมูล การท่องจำเพื่อสอบแข่งขันมากกว่าการใช้ในชีวิตจริง จึงทำให้เด็กญี่ปุ่นไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ แต่อาจจะเขียนและอ่านได้ดีกว่า
ดังนั้น สำหรับชาวต่างชาติแล้ว หากไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นเลย ก็จะลำบากต่อการใช้ชีวิตในญี่ปุ่นมากทีเดียว

ตัวอักษร
ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลการเขียนตัวอักษรแบบจีน และวัฒนธรรมจีนมา ตั้งแต่เมื่อคริสตศตวรรษที่ 7 และ 8 ซึ่งยังคงมีอิทธิพลต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากตัวหนังสือที่ใช้อยู่ 3 แบบคือ
แบบที่ 1 และแบบที่ 2 คือ ฮิรางานะ ( Hiragana ) และ คาตากานะ ( Katagana ) ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นในญี่ปุ่น จากการย่ออักษรจีนบางตัว ทั้งสองแบบมีตัวอักษรอย่างละ 46 ตัว และแสดงเสียงตามพยางค์
แบบที่ 3 คือคันจิ ( Kanji ) เป็นตัวอักษรจีน ซึ่งเป็นอักษรภาพที่แสดงความหมายในตัวเอง อักษรจีนที่ถูกใช้อยู่มีประมาณ 3,000 ตัว แต่จำนวนอักษรจีนที่ถูกระบุอย่างเป็นทางการ ว่าใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบันมีเพียง 1,945 ตัวเท่านั้น
ในการเขียนประโยคต่าง ๆ จะใช้อักษรจีนผสมกับอักษรแบบฮิรางานะ สำหรับชื่อสถานที่ ชื่อเฉพาะอื่น ๆ ที่มาจากอเมริกา ยุโรป และประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อักษรแบบจีน รวมถึงคำศัพท์เทคนิคซึ่งยืมจากภาษาต่างประเทศ จะเขียนด้วยอักษรคาตะกานะ
ภาษาญี่ปุ่นอาจเขียนในแนวดิ่งจากข้างบนลงข้างล่างก็ได้ หรือจะเขียนตามขวางจากซ้ายไปขวาก็ได้

เงินตรา
ญี่ปุ่นใช้เงินสกุลเยน
เงินเหรียญที่ใช้มีตั้งแต่ 1, 5 , 10 , 50 , 100 และ 500 เยนตามลำดับ
ธนบัตรมีตั้งแต่ 1,000 , 2,000 , 5,000 และ 10,000 เยน
กฎหมายญี่ปุ่นระบุมิให้ร้านค้า ภัตตาคาร พาหนะขนส่งมวลชนสาธารณะ ธุรกิจบริการและพ่อค้า รับเงินสกุลต่างประเทศ ซึ่งคุณสามารถแลกเงินเยน ได้ที่ธนาคาร และสถานที่รับแลกเปลี่ยนเงินตรา รวมทั้งผู้รับแลกเปลี่ยนซึ่งได้รับอนุญาตจากทางการ โดยคุณต้องนำพาสปอร์ตไปแสดงในการแลกเงินนี้ด้วย
ในเมืองใหญ่ ๆ เช่นโตเกียว โอซาก้า เกียวโต จะรับบัตรเครดิตของสถาบันการเงินชั้นนำ เช่น อเมริกันเอ็กซ์เพรส ไดเนอร์สคลับ มาสเตอร์การ์ด และวีซ่า โดยไม่คิดค่าบริการเพิ่มสำหรับการใช้บัตร โดยร้านค้าและภัตตาคารที่ยอมรับบัตรเครดิต จะติดสติ๊กเกอร์บัตรเครดิตที่ยอมรับไว้หน้าร้าน

เวลาทำการ (Office Hours)
- สถานที่ราชการ
เปิดทำการเวลา 8.30 หรือ 9.00 - 16.00 หรือ 17.00 น.
- ที่ทำการไปรษณีย์กลาง
เปิดทำการวันธรรมดาเวลา 9.00 - 19.00 น.
วันเสาร์ เวลา 9.00 - 17.00 น.
วันอาทิตย์และวันหยุดต่างๆ เวลา 9.00 - 12.00 น.
- ห้างสรรพสินค้า
เปิดทุกวัน เวลา 10.00 - 19.30 น.หรือ 20.00 น.
- ภัตตาคาร
เปิดสำหรับอาหารมื้อเที่ยง เวลา 11.30 -14.00 น.
มื้อค่ำ เวลา 17.00 - 21.00 หรือ 22.00 น.
- บริษัทและสำนักงาน
เปิดทำการวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 -17.00 น.
บางแห่งอาจเปิดทำการช่วงเช้าวันเสาร์
- ธนาคาร
เปิดทำการวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 - 15.00 น.

การให้ทิป (Tipping)
ตามระเบียบแล้ว ในญี่ปุ่นไม่มีการให้เงินค่าทิปใด ๆ ทั้งสิ้น ยกเว้นกรณีการให้บริการพิเศษโดยเฉพาะ ส่วนพนักงานขนกระเป๋าตามสถานีรถไฟใหญ่ และสนามบินจะคิดค่าบริการราว 300 เยนต่อกระเป๋า สำหรับคนขับแท็กซี่ พนักงานโรงแรม รวมไปถึงร้านอาหารไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าทิป
ไฟฟ้า
ญี่ปุ่นใช้ไฟฟ้ากระแสสลับขนาด 100 โวลท์ ทั่วประเทศ แต่มีไซเคิลสองขนาด คือ ภาคตะวันออก รวมทั้งโตเกียวใช้ 50 รอบ ส่วนเมืองทางตะวันตก เช่น เกียวโต โอซาก้า และนาโงย่าใช้ 60 รอบ
ระบบการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น ToP
ระบบการศึกษา
• การศึกษาระดับต้น ได้แก่ การศึกษาขั้นอนุบาล ซึ่งเริ่มเข้าศึกษาตั้งแต่อายุ 3 ปีไปจนถึงอายุ 5 ปี
และขั้นประถมศึกษา 1-6 ตั้งแต่อายุ 6 ปีไปจนถึง 12 ปีโดยประมาณ
• การศึกษาระดับกลาง ได้แก่ การศึกษาระดับมัธยมศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ มัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี และมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี
• การศึกษาระดับสูง ได้แก่ การศึกษาในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย วิทยาลัยเทคนิค และวิทยาลัยอาชีวศึกษา
การศึกษาระดับสูงในญี่ปุ่นนั้นเริ่มต้นหลังจากผ่านการศึกษาในระดับโรงเรียนมาแล้ว 12 ปี คือ จบมัธยมศึกษาตอนปลาย ดังนั้นนักศึกษาไทยที่ประสงค์จะศึกษาต่อระดับสูงในประเทศญี่ปุ่น จะต้องสำเร็จ การศึกษาอย่างน้อย 12 ปีในประเทศเสียก่อน ( จบม.6 ) ซึ่งสถาบันที่นักศึกษาสามารถเข้าศึกษาต่อได้นั้น แบ่งประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
  มหาวิทยาลัย
นักศึกษาภาคปกติ โดยทั่วไปจะใช้เวลาในการศึกษา 4 ปี ยกเว้นคณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ และสัตวแพทยศาสตร์ จะใช้เวลาศึกษาทั้งสิ้นรวม 6 ปี
  นักศึกษาเวลาพิเศษประเภทไม่รับหน่วยกิต ( Auditors )
สามารถเลือกเรียนวิชาต่างๆ ได้ แต่คุณสมบัติของนักศึกษาและวิชาที่เปิดให้เข้าเรียน จะแตกต่างไปตามแต่ละมหาวิทยาลัย นักศึกษาประเภทนี้จะไม่ได้รับหน่วยกิต
นักศึกษาเวลาพิเศษประเภทได้รับหน่วยกิต รายละเอียดเช่นเดียวกับนักศึกษาเวลาพิเศษประเภทแรก แต่นักศึกษาประเภทนี้จะได้รับหน่วยกิต
  บัณฑิตวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัยจัดแบ่งการศึกษาออกเป็นระดับปริญญาโท และปริญญาเอก บางแห่ง ยังเปิดรับนักศึกษาวิจัย และนักศึกษาเวลาพิเศษ ประเภทไม่ได้รับหน่วยกิต และประเภทได้รับหน่วยกิต
  - ระดับปริญญาโท
ใช้เวลาเรียนไม่เกิน 2 ปี
  - ระดับปริญญาเอก
มีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตนักวิชาการ นักวิจัย ที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ มีความรู้ความเชี่ยวชาญพิเศษชั้นสูง ดังนั้น หลักสูตรในระดับนี้ จึงเน้นการทำเรื่องวิจัยมาก ใช้เวลาเรียนไม่เกิน 5 ปี ส่วนใหญ่แบ่งเป็นระยะเวลา 2 ปีแรกในการเรียนปริญญาโท และระยะหลังอีก 3 ปี ยกเว้นสาขาแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ และสัตวแพทยศาสตร์ ซึ่งใช้ระยะเวลา 4 ปี เพื่อสำเร็จปริญญาเอก บัณฑิตวิทยาลัยบางแห่ง มีหลักสูตรครบ 5 ปี แต่บางแห่งมีเพียงระยะ 3 ปีหลัง
  - นักศึกษาวิจัย
เป็นนักศึกษาที่ได้รับอนุญาตให้ทำวิจัยหัวข้อพิเศษเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ( 1 ภาคหรือ 1 ปีการศึกษา ) ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา โดยไม่ต้องการปริญญาบัตร และไม่ได้รับหน่วยกิต
  วิทยาลัย
หลักสูตรการศึกษาระดับวิทยาลัยโดยทั่วไปจะมีระยะเวลา 2 ปี เช่นเดียวกันกับ Junior Colleges ในสหรัฐอเมริกา แต่มีบางสาขาวิชากำหนดหลักสูตรไว้ 3 ปีเช่นสาขาพยาบาลศาสตร์ ประมาณ 60% ของวิทยาลัยในญี่ปุ่นทั้งหมดเป็นวิทยาลัยเฉพาะผู้หญิง ซึ่งประกอบไปด้วยสาขาทางด้านคหกรรมศาสตร์ อักษรศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ สุขศึกษาศาสตร์ บริหารธุรกิจ และเลขานุการ ในปัจจุบันนี้ วิชาวิทยาศาสตร์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น
  วิทยาลัยอาชีวศึกษา
หลักสูตรวิชาชีพชั้นสูง สถาบันการศึกษาประเภทนี้ เป็นการศึกษาวิชาชีพแขนงต่าง ๆ ซึ่งมีมากมายหลายแขนง เพื่อเสริมสร้างความรู้และความชำนาญ สำหรับการดำเนินอาชีพในอนาคตต่อไป จบแล้วสามารถนำวิชาความรู้ไปประกอบอาชีพได้ทันที ในบรรดาวิทยาลัยอาชีวศึกษา (หลักสูตรวิชาชีพชั้นสูง) เหล่านี้ โรงเรียนที่มีหลักสูตรพิเศษ มีสถานภาพเป็นสถาบันการศึกษาระดับสูง นักศึกษาจะเข้าเรียนเป็นระยะเวลา 1 - 3 ปี ตามปกติแล้วจะเป็น 2 ปี
  วิทยาลัยเทคนิค
เป็นสถาบันการศึกษาที่เปิดหลักสูตรต่อเนื่อง 5 ปี สำหรับผู้ที่จบมัธยมศึกษาตอนต้น สำหรับผู้ที่จบมัธยมปลาย ใช้เวลาเรียน 2 ปี เป็นสถาบันที่มุ่งหวังจะสร้างความรู้ความสามารถ ที่จำเป็นแก่อาชีพทางสายช่างเทคนิค เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และอุตสาหกรรม สถาบันส่วนใหญ่เป็นวิทยาลัยเทคนิคทางวิศวกรรมศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นเป็นสาขาพิเศษต่าง ๆ เช่นการเดินเรือพาณิชย์ ซึ่งจะใช้เวลาเรียน 5 ปี 6 เดือน

หลักสูตรภาษาญี่ปุ่นของมหาวิทยาลัยเอกชน
หลักสูตรภาษาญี่ปุ่นที่มหาวิทยาลัยเอกชนจัดตั้งขึ้นนั้น ในปัจจุบันมีอยู่ 41 แห่ง ( มกราคม 2543 ) ซึ่งเป็นหลักสูตรสำหรับนักศึกษาต่างชาติ ที่ต้องการศึกษาภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น หรือวิชาพื้นฐาน สำหรับเตรียมสอบคัดเลือก เข้าศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งมีระยะเวลาเรียนตามหลักสูตรไม่ถึง 1 ปี
ถ้าหลักสูตรของมหาวิทยาลัยใดมีระบบรับรองนักศึกษาให้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยนั้น นักศึกษาก็สามารถใช้บริการได้ หรือจะเลือกสอบเข้าเรียนในสถาบันอื่นก็ได้ นักศึกษาในหลักสูตรนี้ มีความได้เปรียบในเรื่องที่พักอาศัย งานพิเศษตลอดจนสวัสดิการต่าง ๆ เช่นความช่วยเหลือในการรักษาพยาบาล แต่สถาบันในระดับนี้มีจำนวนน้อย


การเลือกสถาบันสอนภาษาญีปุ่น
การเลือกสถาบันสอนภาษาญี่ปุ่นของเอกชน ที่อยู่นอกเหนือจากที่มหาวิทยาลัยจัดไว้นั้น ควรพิจารณาจากหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
  การรับรอง
สถาบันนั้นได้รับการรับรองจากสมาคมส่งเสริมการศึกษาภาษาญี่ปุ่นหรือไม่ เพราะการเข้าศึกษาในสถาบันที่ไม่ได้รับการรับรองรายชื่อ นักศึกษาจะไม่ได้รับการตรวจ ลงตราวีซ่านักศึกษาก่อนวิทยาลัย และนักศึกษาวิทยาลัย
  เนื้อหาของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรที่มีเนื้อหาอย่างไร เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายของตนหรือไม่ เช่นหลักสูตรทั่วไป, หลักสูตรภาษาญี่ปุ่นเพื่อศึกษาต่อระดับสูง , หลักสูตรภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ เป็นต้น
  การแบ่งระดับชั้นเรียน
มีการจัดสอบเพื่อแบ่งชั้นเรียนตามความรู้ทางภาษาญี่ปุ่น เพื่อที่นักศึกษาแต่ละคน จะได้เรียนบทเรียนที่เหมาะสม กับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น ของตนเองหรือไม่
  วิชาพื้นฐาน
สถาบันมีการเปิดสอนวิชาพื้นฐานสำหรับการสอบคัดเลือก เพื่อเข้าเรียนในระดับปริญญาตรี ( ได้แก่วิชา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี สังคมศาสตร์ เป็นต้น ) ไปพร้อมกับภาษาญี่ปุ่นด้วยหรือไม่
  สภาพแวดล้อมของการศึกษา
ควรมีสภาพแวดล้อมที่ดี เช่น สถานที่ตั้งของสถาบัน , อาคาร , อุปกรณ์การเรียนการสอน โดยมีครูผู้สอนและจำนวนนักเรียนอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม
  หอพักของสถาบัน
มีสถานที่พักเป็นของสถาบันเองหรือไม่ ราคาค่าเช่าเท่าไร ค่าสมัครเข้าหอพักเท่าไร สามารถอยู่ได้นานเท่าไร และมีการคัดเลือกหรือต้องสมัครล่วงหน้านานเพียงใด หากในกรณีที่ไม่มีที่พักของสถาบันโดยเฉพาะ ทางสถาบันควรจะมีนโยบายช่วยเหลือ ในการติดต่อหาอพาร์ทเมนท์หรือหอพักอื่น ๆ ให้ด้วย
  การแนะแนวด้านการศึกษาต่อและความเป็นอยู่
มีการให้คำแนะนำหรือให้คำปรึกษา เพื่อเป็นแนวทางศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปหรือไม่ ให้คำปรึกษาในด้านปัญหาความเป็นอยู่หรือไม่
  ผลงานของสถาบัน
นักศึกษาของสถาบันนั้น มีจำนวนผู้ที่สามารถสอบผ่านวัดระดับภาษาญี่ปุ่นในแต่ละระดับมากน้อยเพียงใด และจำนวนผู้เข้าสอบวิชาสามัญทั่วไป สำหรับนักศึกษาต่างชาติ ที่ได้คะแนนมากกว่า 200 คะแนนขึ้นไป (จาก คะแนนเต็ม 400 ) , ทิศทางของผู้ที่จบการศึกษาไปแล้ว ส่วนใหญ่ทำอะไรต่อไป ศึกษาต่อในระดับใด , กลับประเทศ ฯลฯ
  ค่าเล่าเรียน
อัตราค่าเล่าเรียนจะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละสถาบัน ควรจะเช็คด้วยว่า ค่าเล่าเรียนที่ทางสถาบันระบุนั้น นอกจากค่าเล่าเรียนแล้วรวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อะไรบ้าง เช่น ค่าลงทะเบียนแรกเข้า ค่าหนังสือและอุปกรณ์การเรียน กิจกรรมพิเศษ ฯลฯ
ค่าใช้จ่าย
หลักสูตร 6 เดือน
357,000 - 422,000 เยน ( ประมาณ 132,222 - 156,296 บาท )
หลักสูตร 1 ปี
410,000 - 1,080,000 เยน ( ประมาณ 151,852 - 400,000 บาท )
หลักสูตร 1 ปีครึ่ง
590,000 - 1,530,000 เยน ( ประมาณ 218,519 - 566,667 บาท )
หลักสูตร 2 ปี 770,000 - 1,715,000 เยน ( ประมาณ 285,185 - 635,185 บาท )

ปีการศึกษา
ปีการศึกษาของสถาบันการศึกษาระดับสูงในญี่ปุ่น จะเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนของทุกปี และจบลงในเดือนมีนาคม ของปีถัดไป ส่วนมากจะแบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษา คือ
- ภาคต้น เดือนเมษายน - เดือนกันยายน
- ภาคปลาย เดือนตุลาคม - เดือนมีนาคม
การปิดภาคการศึกษานั้น จะแตกต่างกันไปตามมหาวิทยาลัยหรือคณะ แต่โดยทั่วไปแล้ว จะมีช่วงปิดภาค 3 ครั้ง ใน 1 ปีคือ
- ปิดฤดูร้อน ต้นเดือนกรกฎาคม - ปลายเดือนสิงหาคม
- ปิดฤุดูหนาว ปลายเดือนธันวาคม - ต้นเดือนมกราคม
- ปิดฤดูใบไม้ผลิ ปลายเดือนกุมภาพันธ์ - ต้นเดือนเมษายน
หมายเหตุ : มีมหาวิทยาลัยเพียงไม่กี่แห่ง ที่มีการรับนักศึกษาเข้าเรียน ในเดือนตุลาคม ของการศึกษาภาคปลาย

ช่วงเวลาการรับสมัคร
โดยทั่วไป สถาบันการศึกษาระดับสูงในญี่ปุ่น จะประกาศรับสมัครนักศึกษา ในช่วงเดือนมิถุนายน ถึง สิงหาคมของทุกปี วันหมดเขตการรับสมัคร จะแตกต่างกันไปตามสถาบันหรือคณะ บางแห่งจะเร็ว คือ อยู่ในช่วงเดือนสิงหาคมหรือกันยายน แต่บางแห่งจะช้าไปจนถึงเดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์ ในกรณีที่สมัครไปจากประเทศไทย ก็มีความจำเป็นที่จะต้องเผื่อเวลา สำหรับการส่งเอกสารทางไปรษณีย์ด้วย เพื่อที่จะส่งให้ถึงก่อนวันหมดเขตในระยะเวลาพอสมควร


TSAB ขอแนะนำ สถาบันและมหาวิทยาลัย

ข้อมูลเรียนต่อต่างประเทศ






Web site engine's code is Copyright © 2002 by PHP-Nuke. All Rights Reserved. PHP-Nuke is Free Software released under the GNU/GPL license.
Page Generation: 0.153 Seconds