จันทร์ -
ศุกร์ 9.00 - 18.00
น เสาร์ 9.00 - 16.30
น
ค่าธรรมเนียมวีซ่านักเรียน
AUS
17,350 Baht
USA
4,620 Baht
UK
10,348 Baht
NZ
5,000 Baht
Canada
4,000 Baht
Page Counter: 508
Since: 10 Apr
2005
ข้อมูลทั่วไปของประเทศอเมริกา
ToP
ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีเนื้อที่กว้างใหญ่
เทียบเท่ากับ 18 เท่าของพื้นที่ประเทศไทย
ส่วนกว้างของประเทศ จากฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางด้านตะวันตก
ไปจนจรดมหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันออก มีความกว้างถึง 4,500
กิโลเมตร ทิศเหนือมีอาณาเขตติดกับประเทศแคนาดา
ทิศใต้ติดกับประเทศเม็กซิโกและอ่าวเม็กซิโก
สหรัฐอเมริกาประกอบด้วยรัฐต่างๆ 50 รัฐ กับ 1
เขตการปกครองคือ วอชิงตัน ดีซี (Washington DC)
รัฐเหล่านี้มีอาณาเขตติดต่อกันถึง 48 รัฐ มียกเว้น 2
รัฐคือ รัฐฮาวาย ซึ่งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก และรัฐอลาสก้า
ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของ ประเทศแคนาดา
เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศกว้างขวางมาก
จึงทำให้ภูมิอากาศแตกต่างกันด้วย ดังนั้นรัฐต่างๆ
เหล่านี้จึงถูก แบ่งเป็น 7 เขตดังนี้
Northwest State
Washington,
Oragon, Idaho
Southwest State
California, Nevada, Utah,
Arizona
North Central State
Montana, Wyoming, Colorado,
North Dakota, South Dakota, Nebraska, Kansas,
Minnesota, Iowa, Missouri
South Central State
New Mexico, Oklahoma,
Arkansas, Texas, Louisiana
Midwest State
Wisconsin, Illinois, Michigan,
Indiana, Ohio, Kentucky
Northeast State
New Hampshire, Vermont, New
York, Pennsylvania, West Virginia, Virginia,
Maine, Massachusetts, Rhode Island, Connecticut,
New Jersy, Delaware, Maryland, District of
Columbia
Southeast State
Tennessee, North Carolina,
South Carolina, Mississippi, Alabama, Georgia,
Flori
สภาพภูมิอากาศ
ToP
ลักษณะอากาศของแต่ละเขตต่างกันไป เช่น ในฤดูร้อน
อากาศด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้
บริเวณทะเลทรายอุณหภูมิเกือบเท่าแถบเส้นศูนย์สูตร
ส่วนฤดูหนาวในเขตทางตอนเหนือ ก็จะหนาวจัดจนหิมะตกหลายเดือน
แถบที่อากาศอบอุ่นสบาย ไม่มีหิมะตก คือที่รัฐแคลิฟอร์เนีย
ฟลอริดา และอริโซน่า ส่วนในช่วงฤดใบไม้ร่วง
ใบไม้จะเปลี่ยนสีสันสวยงามมาก ฤดูกาลมีทั้งหมด 4 ฤดู คือ -ฤดูร้อน (Summer) มิถุนายน - สิงหาคม -ฤดูใบไม้ร่วง (Autumn) กันยายน - พฤศจิกายน
-ฤดูหนาว (Winter) ธันวาคม - กุมภาพันธ์ -ฤดูใบไม้ผลิ (Spring) มีนาคม -
พฤษภาคม
ด้วยประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้างมาก
จึงมีการแบ่งความแตกต่างของเวลา ตามเส้นแบ่งของโลก เป็น 4
เขตเวลา (Time Zone) คือ Eastern Time Zone (EST) :
จะมีเวลาช้ากว่าในประเทศไทยเท่ากับ 12 ชั่วโมง Central Time Zone (CST) :
จะมีเวลาช้ากว่าในประเทศไทยเท่ากับ 13 ชั่วโมง Mountain Time Zone (MST) :
จะมีเวลาช้ากว่าในประเทศไทยเท่ากับ 14 ชั่วโมง Pacific Time Zone (PST) :
จะมีเวลาช้ากว่าในประเทศไทยเท่ากับ 15 ชั่วโมง ในแต่ละ Time Zone จะมีเวลาแตกต่างกัน 1 ชั่วโมง
ตัวอย่างเช่น เวลาใน Eastern โซน เป็นเวลาบ่าย 4 โมงเย็น
เวลาในเขต Central โซนจะเป็นบ่าย 3 โมงเย็น ในเขต Mountain
โซนเป็นเวลาบ่าย 2 โมง และเวลาในเขต Pacific
โซนจะเป็นเวลาบ่ายโมงตรง ในฤดูใบไม้ร่วงจะมีการหมุนเข็มนาฬิกาให้เวลาเดิน
หน้าเร็วขึ้น 1
ชั่วโมงโดยจะหมุนในวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน ตุลาคม
และในฤดูใบไม้ผลิ จะหมุนเข็มนาฬิกาให้เวลาถอยหลัง 1
ชั่วโมง โดยจะหมุนในวันอาทิตย์แรกของ
เดือนเมษายน
การใช้ชีวิต
ToP
เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเป็นระบบเศรษฐกิจเสรี
ชาวอเมริกันส่วนใหญ่จะมีฐานะใกล้เคียงกัน
มีเป็นจำนวนน้อยที่จะร่ำรวยมหาศาล หรือยากจน
สหรัฐเป็นประเทศที่มีความเจริญ
และเป็นผู้นำในธุรกิจหลายประเภท และทุกๆ ด้าน
ไม่ว่าจะเป็นการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม เช่นอุตสาหกรรม
รถยนต์ เครื่องบิน คอมพิวเตอร์
รวมถึงการท่องเที่ยวและบันเทิง
การใช้บริการเกี่ยวกับโทรศัพท์ในประเทศอเมริกา
เป็นเรื่องที่สะดวกสบายมาก โทรศัพท์สาธารณะมีอยู่ทั่วไป
ทั้งแบบหยอดเหรียญและใช้บัตร รวมถึงบัตรเครดิต
สำหรับนักศึกษาที่ไปศึกษาต่อและต้องพำนักอาศัยอยู่ในประเทศเป็นเวลานาน
อาจพิจารณาขอติดตั้งโทรศัพท์เป็นของตนเองภายในที่พัก
ซึ่งสามารถกระทำได้โดยง่าย
เนื่องจากเป็นบริการขั้นพื้นฐานที่รัฐบาลจัดให้มีเพียงพอสำหรับประชาชน
และด้วยวิทยาการและเทคโนโลยีที่ก้าวไกลทางด้าน internet
ในปัจจุบัน บริการโทรศัพท์ทางไกลผ่าน internet
ก็เป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง
ซึ่งมีทั้งในรูปแบบของการใช้ Prepaid Phone Card
ซึ่งจะมีอัตราค่าบริการที่ค่อนข้างถูก หรือการต่อ internet
กับคอมพิวเตอร์ และใช้หูฟังซึ่งเพียงต่อ internet
และมีโปรแกรมที่ใช้สำหรับการโทรศัพท์ก็สามารถใช้ได้แล้ว
หน่วยเงินตราของประเทศสหรัฐอเมริกาคือ ดอลล่าร์
(US$) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 100 เซ็นต์
ธนบัตรของประเทศอเมริกาทุกมูลค่า
จะมีสีเขียวเหมือนกันหมดและมีขนาดเท่ากันหมด
หน่วยเงินที่ใช้โดยทั่วไปคือ $ 1, $ 5, $ 10, $ 20, $ 50
และ $ 100 สำหรับเงินเหรียญ
จะมีขนาดและลักษณะที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่เหรียญ 1 เซ็นต์
(penny), เหรียญ 5 เซ็นต์ (nickel), เหรียญ 10 เซ็นต์
(dime), และเหรียญ 25 เซ็นต์ (quarter)
ระบบไฟฟ้าของสหรัฐอเมริกาเป็นระบบ 115 V, 600
Cycles ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทย
ไม่แนะนำให้นักศึกษานำเครื่องไฟฟ้าจากประเทศไทยติดตัวไป
นักศึกษาสามารถนำเงินสดสกุลดอลลาร์สหรัฐเข้าประเทศได้ในวงเงินสูงสุด
US$ 10,000
ถ้ามากกว่านั้นต้องแจ้งเจ้าหน้าที่
ระบบการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา
ToP
การศึกษาในสหรัฐอเมริกาแต่ละรัฐ จะควบคุมคุณภาพ
การเรียนการสอน และวางแผนการศึกษาของตนเอง
โดยไม่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลกลาง ทุกรัฐจะมีหน่วยงานการศึกษา
คล้ายกระทรวงศึกษาธิการ คอยกำหนดมาตรฐานต่างๆ
แนะนำเงินงบประมาณอุดหนุนให้โรงเรียน วิทยาลัย
และมหาวิทยาลัย จากเงินภาษีที่เก็บได้จากประชาชนในแต่ละรัฐ
การศึกษาภาคบังคับ
นักเรียนอเมริกันทุกคนจะเรียนฟรี
ไม่ว่าจะอยู่ที่รัฐใด จนจบชั้นมัธยมศึกษา หรือ Grade 12
สำหรับนักเรียนจากประเทศไทย ที่ต้องการเรียนในระดับประถม
และมัธยมศึกษาที่อเมริกา
จะสมัครเข้าเรียนได้ในโรงเรียนเอกชนเท่านั้น
เพราะสหรัฐอเมริกาจะไม่ออกวีซ่าให้นักเรียนไทยที่ได้ I-20
จากโรงเรียน ระดับประถม และมัธยมศึกษาจากโรงเรียนของรัฐ
การเรียนในระดับมหาวิทยาลัยจะมีข้อแตกต่าง กล่าวคือ
ถ้านักเรียนที่มีถิ่นฐานในรัฐหนึ่ง
จะข้ามมาศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยอีกรัฐหนึ่ง
จะต้องเสียค่าเล่าเรียนแพงขึ้น ที่เรียกว่า Out of States
Tuition และถ้านักศึกษามาจากประเทศอื่น
จะต้องเสียค่าเล่าเรียนมากกว่าขึ้นไปอีก
โรงเรียนอนุบาล
(Kindergarten)
ชีวิตการเรียนของเด็กอเมริกันเริ่มต้นด้วยโรงเรียนเตรียมอนุบาล
หรือโรงเรียนอนุบาล ตั้งแต่อายุประมาณ 3 ขวบ
โรงเรียนประถมศึกษา
(Elementary Schools)
เด็กอเมริกันจะเข้าเริ่มเรียนอย่างจริงจังเมื่ออายุ
6 ขวบ บริบูรณ์ คือเข้าเรียนในชั้น Grade 1
ซึ่งบ้านเราก็นับว่าเป็น ประถมศึกษาปีที่ 1
ระบบการศึกษาของประเทศอเมริกา จะจัดแบ่งออกเป็น
Grade 1 ถึง Grade 12 ซึ่งโดยหลักการแล้ว
จะจัดแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 คือ Grade 1
ถึง Grade 6 หรือระดับประถมศึกษา
โรงเรียนมัธยมศึกษา (Junior
High Schools / High Schools)
ช่วงที่ 2 คือ Grade 7 และ Grade 8
หรือระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (Junior High School)
และช่วงที่ 3 คือ Grade 9 ถึง Grade 12
เป็นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (Senior High School)
โดยทั่วไปสำหรับเด็กที่เข้าเริ่มเรียนตามปกติ
และเรียนต่อเนื่องไปโดยไม่ขาดตอน จะสำเร็จการศึกษา
Grade 12 เมื่อ อายุประมาณ 18 ปี
ซึ่งนับว่าสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
นักศึกษาต่างชาติที่เข้าไปเรียนต่อ
ในระดับมัธยมศึกษา ประถมศึกษา
ในประเทศอเมริกามีจำนวนไม่มากนัก
และส่วนใหญ่จะเข้าเรียนกับโรงเรียนประจำของเอกชน
หรือ Boarding School
แม้ว่าในปัจจุบันโรงเรียนของรัฐบาลจะมีนโยบาย
เปิดรับนักศึกษาต่างชาติมากขึ้น
แต่นักศึกษาต่างชาติส่วนใหญ่
ก็ยังคงสมัครเข้าเรียนกับโรงเรียนประจำ
เนื่องจากโรงเรียนรัฐบาลส่วนใหญ่ไม่สามารถจัดหาหอพักให้ได้
โดยทั่วไปนักเรียนไทยส่วนใหญ่ที่ไปเรียนต่อในระดับนี้
มักสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว
และไปเข้าเรียนต่อ Grade 10 ใน ประเทศอเมริกา
ระดับอุดมศึกษา (Higher
Education)
สถาบันระดับอุดมศึกษาในสหรัฐอเมริกามีมากมายกว่า
3,000 แห่ง ทั้งของรัฐและเอกชน
โดยสถาบันในระดับอุดมศึกษา จะแยกออกเป็น 4 ประเภท
ดังนี้
1.
วิทยาลัยแบบ 2 ปี
หรือวิทยาลัยชุมชน (Junior Colleges และ Community
Colleges) นักศึกษาที่เรียนใน วิทยาลัย
Junior และ Community Colleges สามารถ
เลือกเรียนได้ใน 2 หลักสูตร คือ
1.1
Transfer Track
เป็นหลักสูตรที่เป็นวิชาพื้นฐาน 2 ปี
แรกของการศึกษาระดับปริญญาตรี
โดยนักศึกษาจะลงเรียนรายวิชาบังคับ (General
Education Requirements) เป็นเวลา 2 ปี จากนั้น
นักศึกษาสามารถโอนหน่วยกิต (Transfer)
ไปมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชน
เพื่อศึกษาต่อในระดับปี 3
โดยที่เกรดเฉลี่ยที่นักศึกษาทำได้ในระหว่าง 2
ปีนี้ จะเป็นตัวกำหนดว่า
นักศึกษาจะได้รับการตอบรับเข้ามหาวิทยาลัย
ที่อยู่ในอันดับยากง่ายเพียงใด
1.2
Terminal/Vocational Track
เป็นหลักสูตรอนุปริญญาสายวิชาชีพ หลังจาก 2 ปีแล้ว
นักศึกษาจะได้รับวุฒิอนุปริญญา (Associate Degree)
ทางสาขาวิชาที่เลือก อาทิเช่น คอมพิวเตอร์
เลขานุการ เขียนแบบ
เป็นต้น
2.
วิทยาลัย (Colleges)
เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษา หลักสูตร 4 ปี
เปิดสอนในสาขาวิชาต่างๆ วิทยาลัยหลายแห่ง
เปิดสอนถึงระดับปริญญาโท
วุฒิบัตรระดับปริญญาตรีและโทจาก College
ทั้งของรัฐและเอกชนในสหรัฐฯ
มีศักดิ์และสิทธิ์เทียบเท่า University
ทุกประการ
3.
มหาวิทยาลัย (University)
เป็นสถาบันระดับอุดม
ศึกษาที่เปิดสอนระดับปริญญาตรีขึ้นไป
มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่
จะเปิดสอนจนถึงระดับปริญญาโทและเอกในสาขาต่างๆ
4.
สถาบันเทคโนโลยี (Institute of
Technology)
เป็นสถาบันที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี
และอาจเปิดสอนจนถึงระดับปริญญาโทและเอก
สถาบันเทคโนโลยีส่วนใหญ่
จะมุ่งเน้นที่การสอนในสาขาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี
มัธยมศึกษา
นักเรียนจากประเทศไทยสามารถศึกษาต่อในระดับมัธยม
ในโรงเรียนของเอกชนเท่านั้น
ไม่สามารถเข้าเรียนในสถาบันของรัฐบาลได้
เงื่อนไขอื่นๆ เช่นเกรดเฉลี่ยและคะแนน TOEFL
แตกต่างออกไปตามสถาบัน
วิทยาลัย
วิทยาลัยส่วนใหญ่ต้องการนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ย 2.0
ขึ้นไป และคะแนน TOEFL 450-500 ขึ้นไป
มหาวิทยาลัย
-
สำหรับปริญญาตรี
สถาบันส่วนใหญ่ต้องการนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ย 2.5
ขึ้นไป และ TOEFL 500 ขึ้นไป
-
ปริญญาโท และเอก เกรดเฉลี่ย 3.0 ขึ้นไป
และคะแนน TOEFL ไม่ต่ำกว่า 500
นักศึกษาที่จะสมัครในโปรแกรม MBA
ส่วนใหญ่จะต้องใช้คะแนน GMAT
ซึ่งจะนำมาคำนวณกับเกรดเฉลี่ยปริญญาตรี
ส่วนนักศึกษาที่สมัครปริญญาโทและเอกในสาขาอื่นๆ
ส่วนใหญ่จะต้องสอบ GRE (Graduate Record
Examination)
ปีการศึกษาในสหรัฐอเมริกา (Academic Year)
จะเริ่ม ประมาณเดือนกันยายนถึงพฤษภาคม
ซึ่งมีกำหนดภาคเรียนแตกต่างกันออกไปดังนี้
ระบบ Semester
เป็นระบบที่นิยมใช้มากที่สุด
ในระยะเวลาหนึ่งปีจะประกอบด้วย 2 Semesters และ 1-2
Summer Sessions แต่ละ Semester ยาวประมาณ 16
สัปดาห์ ดังนี้
-
Fall Semester
เปิดประมาณปลายสิงหาคม - กลางธันวาคม
-
Spring Semester เปิดประมาณต้นมกราคม - เมษายน
(บางครั้ง Summer Session จะแบ่งครึ่งเป็น 2
ช่วงสั้น ๆ)
-
Summer Session เปิดประมาณกลางพฤษภาคม -
สิงหาคม
ระบบ Quarter
ในหนึ่งปีแบ่งออกเป็น 4 Quarter แต่ละ Quarter
ใช้เวลาเรียนประมาณ 10 สัปดาห์ ดังนี้
-
Fall Quarter
เปิดประมาณกลางกันยายน - ธันวาคม
-
Winter Quarter เปิดประมาณมกราคม - กลางมีนาคม
-
Spring Quarter เปิดประมาณต้นเมษายน -
กลางมิถุนายน
-
Summer Quarter เปิดประมาณกลางมิถุนายน-
สิงหาคม
ระบบ Trimester
ใน 1 ปี แบ่งภาคการศึกษาดังนี้
-
First Trimester
เปิดประมาณกันยายน - ธันวาคม
-
ีSecond Trimester เปิดประมาณมกราคม - เมษายน
-
Third Trimester เปิดประมาณพฤษภาคม -
สิงหาคม
ระบบ 4-1-4
เป็นระบบใหม่ที่ใช้ในสถานศึกษาราว 8%
ในสหรัฐอเมริกาแบ่งปีการศึกษาออกเป็น 2 ภาคใหญ่
คั่นด้วยภาคเรียนสั้นๆ ที่เรียกว่า Interim
เพื่อให้นักศึกษาไปทำการค้นคว้าด้วยตนเอง หรือออก
Field Trip แบ่งภาคเรียน ดังนี้
-
Fall Semester
เปิดประมาณปลายสิงหาคม - ธันวาคม
-
Interim เปิดประมาณเดือนมกราคม (1 เดือน)
-
Spring Semester เปิดประมาณเดือนกุมภาพันธ์ -
พฤษภาคม
ระดับ
ค่าเล่าเรียนต่อปี(US$)
หลักสูตรภาษาอังกฤษ
5,000 - 14,000
มัธยมศึกษา
6,000-17,500
หลักสูตรประกาศนียบัตร/อนุปริญญา
5,600 - 8,000
หลักสูตรปริญญาตรี
3,000-13,000
หลักสูตรปริญญาตรี (ใช้ห้องปฏิบัติการ)
5,700-16,000
หลักสูตรปริญญาโท
8,000-14,400
MBA
8,000-24,000
ปริญญาเอก
9,600 - 16,000
ค่าใช้จ่ายด้านบนนี้
เป็นเพียงแค่ตัวเลขประมาณการโดยเฉลี่ยเท่านั้น
หลักสูตรบางหลักสูตร อาจมีอัตราค่าเล่าเรียนที่สูงมาก
อาทิเช่น หลักสูตรการบิน
และหลักสูตรที่ต้องมีการใช้ห้องปฏิบัติการ
สถานศึกษาส่วนใหญ่มักจัดที่พักในสถานศึกษา
เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักศึกษา
ที่พักในสถานศึกษานี้มักมีจำนวนจำกัด จึงควรเริ่มติดต่อ
และสำรองห้องพักแต่เนิ่นๆ โดยการเขียนจดหมายขอรายละเอียด
ไปยัง Housing Office ของสถานศึกษานี้ มีหลายประเภทคือ
Dormitory หรือ
Residence Hall คือ หอพักสำหรับ
นักศึกษาที่เป็นโสดหรือไม่ได้นำครอบครัว ไปด้วย
อาจแบ่งเป็น หอพักหญิง หอพักชาย หรือหอพักรวม
(โดยที่แยกนักศึกษาชาย-หญิง
ออกเป็นคนละห้องหรือคนละชั้น)
มีทั้งที่เป็นห้องเดี่ยว ห้องคู่ หรือห้องรวม 4 คน
มีห้องน้ำในห้อง หรือห้องน้ำรวม
Married Housing
เป็นหอพักสำหรับนักศึกษาที่แต่งงานแล้ว
และนำครอบครัวไปด้วย
บางแห่งจัดไว้เป็นหมู่บ้านมีทั้งที่เป็น Studio
ห้องนอนเดี่ยวหรือคู่
อาจมีเฟอร์นิเจอร์หรือไม่ก็ได้
Apartment
สถานศึกษาบางแห่ง
จัดที่พักประเภทนี้ไว้ให้นักศึกษาอยู่ เหมือน
Apartment ของเอกชน
มักเก็บค่าเช่าแพงกว่าสองแบบที่กล่าวมาข้างต้น
การอยู่ Apartment นี้ นักศึกษาจะมีอิสระมากกว่า
เช่น มีอิสระในการเข้าออก
หรือสามารถทำอาหารรับประทานเองได้
มักเป็นที่พักของเอกชน หรือบ้านเช่าต่างๆ
นอกสถานศึกษา สถานที่พักเหล่านี้รับบุคคลทั่วไปเข้าพักได้
โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นนักศึกษาหรือไม่ การติดต่อหาที่พัก
นักศึกษาต้องเป็นผู้หาข้อมูลเองว่ามีที่ใดว่าง
สามารถเข้าพักได้เมื่อใด นักศึกษาอาจปรึกษาเจ้าหน้าที่
Housing Office หรือที่ปรึกษานักศึกษาต่างชาติ (Foreign
Student Advisor) ของสถานศึกษา
ว่าแห่งใดเหมาะแก่การพักอาศัย
ทั้งนี้เพราะค่าเช่าที่พักเหล่านี้ ตลอดจนที่ตั้ง
และสภาพที่พักอาจแตกต่างกันไป
ผู้เข้าพักควรได้แวะไปดูสถานที่ก่อนเซ็นสัญญาเข้าพัก
อีกทั้งควรได้ศึกษาและอ่านสัญญาเช่าบ้านพักให้ละเอียดรอบคอบ
Apartment หลายราคา หลายระดับ
ตั้งแต่ชนิดที่หรูหราจนถึงชนิดที่เก่าแก่ซอมซ่อ
ราคาค่าเช่าพักนั้นก็ขึ้นอยู่กับสภาพและที่ตั้งของ
Apartment นั้นเอง โดยทั่วไป Apartment 1 ห้องชุด
จะประกอบด้วยห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องครัว
และห้องน้ำครบบริบูรณ์ นักศึกษา 2-3
คนมักจะรวมกันเช่า
เพราะนอกจากมีอิสระมากกว่าอยู่หอพักในสถานศึกษา
ยังสามารถทำอาหารรับประทานได้ด้วย ข้อเสียคือ
ค่าเช่ามักแพง ทำให้นักศึกษาต้องอยู่รวมกัน
หากเป็นนักศึกษาไทยทั้งหมด
โอกาสที่จะได้ฝึกภาษาก็น้อยลง นอกจากนี้ Apartment
บางแห่ง อยู่ไกลจากที่เรียน
ทำให้เสียเวลาในการเดินทาง
บางคนก็เสียเวลากับการปรุงอาหาร
เพราะที่พักประเภทนี้มักไม่มีโรงอาหาร หรือ
Cafeteria
Rooming
House คือห้องเช่า ส่วนมากมีลักษณะเป็นบ้าน
มีหลายห้อง เจ้าของบ้านจะเป็นผู้กำหนดระเบียบการเช่า
การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น
การเปิด-ปิดเครื่องทำความร้อน (Heater)
การใช้ครัวทำอาหาร การนำเพื่อนมาพักในโอกาสพิเศษ
การใช้ตู้เย็น ห้องน้ำ ฯลฯ
Family ปัจจุบันการหาครอบครัวอเมริกันเข้าพักด้วยค่อนข้างยาก
หากมีก็มักจะอยู่ในลักษณะเหมือน Rooming House
นั่นคือ เสียเงินค่าเช่าตามที่ตกลงกัน
สำหรับนักศึกษาที่เดินทางเข้าสหรัฐอเมริกาโดยไม่ได้จองที่พักใดๆ
ไว้เลย หรือหอพักที่จองไว้ยังไม่เปิด
อาจพักอยู่ชั่วคราวกับโรงแรม
หรือที่พักชั่วคราวที่สถานศึกษาจัดไว้ให้
หรือกับสถานที่ซึ่งที่ปรึกษานักศึกษาต่างชาติ
(Foreign Student Advisor)
แนะนำ
TSAB ขอแนะนำ
สถาบันและมหาวิทยาลัย